วันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ข้อสอบ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา


ข้อสอบ วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา

21.   เส้นผมของเรามีเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับ  0.1  มิลิเมตร  ถ้าคิดเป็นหน่วยไมครอนจะเท่ากับ ?
.  1  ไมครอน            .  10  ไมครอน                  .  100  ไมครอน               .  1,000  ไมครอน

22.   ในการส่องกล้องจุลทรรศน์เพื่อดูพารามีเซียม  เมื่อใช้เลนส์วัตถุกำลังขยายต่ำ  (100 X)  แล้วเปลี่ยนมาเป็นเลนส์วัตถุกำลังขยายสูง  (400 X)  ส่องดู จะเห็นพารามีเซียมมีลักษณะใด ?
ก.      ภาพพารามีเซียมมีขนาดเล็กกว่าและมืดกว่า  เมื่อใช้เลนส์วัตถุกำลังขยายต่ำ
ข.      ภาพพารามีเซียมมีขนาดเล็กกว่าและสว่างกว่า  เมื่อใช้เลนส์วัตถุกำลังขยายต่ำ
ค.      ภาพพารามีเซียมมีขนาดใหญ่กว่าและมืดกว่า  เมื่อใช้เลนส์วัตถุกำลังขยายต่ำ
ง.       ภาพพารามีเซียมมีขนาดใหญ่กว่าและสว่างกว่า  เมื่อใช้เลนส์วัตถุกำลังขยายต่ำ

23.   ถ้าเราจะศึกษาโครงสร้างของโฟลเอมกับไซเลม  เราควรจะใช้เครื่องมือใดต่อไปนี้ ?
กล้องจุลทรรศน์                                                      เครื่องปั่นเหวี่ยง
ตู้อบ                                                                         เครื่องชั่ง

24.   ข้อใดต่อไปนี้เป็นสูตรของสารอินทรีย์ ?
.  Mg(OH)2                .  NaCl                                .  C12H22O11                                    .  NH3


25.   ในภาพด้านล่างนี้  มีการเคลื่อนที่ของโมเลกุลจากพื้นที่  ไปยังพื้นที่  เมื่อเวลาผ่านไป  ถามว่ากระบวนการเคลื่อนที่นี้เรียกว่าอะไร ?



ฟาโกไซโตซีส (phagocytosis)                               พิโนไซโตซีส (pinocytosis)
การแพร่  (diffussion)                                             แอคทีฟทรานส์ปอรต์ (active transport)


ให้ดูรูปข้างล่างนี้แล้วตอบคำถามข้อ  26 - 29
        ภาพข้างล่างนี้เป็นการทดลองเพื่อเลียนแบบเซลล์  ภายในเซลล์จะมีสารละลายซูโครสกับกลูโคส  ซึ่งหุ้มด้วยเยื่อเลือกผ่าน  แช่อยู่ในบีกเกอร์ที่มีสารละลายซูโคสกับกลูโคสและฟลุคโตสอยู่  เยื่อแมมเบรนนี้จะยอมให้น้ำและน้ำตาลพวกกลูโคส  ฟลุคโตส  ผ่านได้เท่านั้น  แต่ซูโครสจะผ่านไม่ได้



26.   สารในข้อใดที่จะแพร่เข้าสู่เซลล์ ?
ซูโครส                    กลูโคส                            ฟลุคโตส                         กลูโคสและฟรุคโตส

27.   สารในข้อใดที่จะแพร่ออกจากเซลล์ ?
ซูโครส                    กลูโคส                            ฟลุคโตส                         กลูโคสและฟรุคโตส

28.   เมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างสารละลายภายในเซลล์กับสารละลายสภาวะแวดล้อมรอบเซลล์  ?
ก.      มีความเข้มข้นของสารละลายภายในเซลล์เท่ากับสภาวะแวดล้อมรอบเซลล์
ข.      มีความเข้มข้นของสารละลายภายในเซลล์สูงกว่าสภาวะแวดล้อมรอบเซลล์
ค.      มีความเข้มข้นของสารละลายภายในเซลล์ต่ำกว่าสภาวะแวดล้อมรอบเซลล์
ง.       ไม่มีข้อใดถูก

29.   ถ้าปล่อยให้เวลาผ่านไปสักครู่  ข้อใดต่อไปนี้จะเกิดขึ้น ?
เซลล์จะเหี่ยวย่น                                                    เซลล์จะบวมเต่ง
น้ำจะออกจากเซลล์หมด                                       เซลล์จะแตก

  
30.   จากภาพข้างล่างนี้เป็นภาพเซลล์ที่อยู่ในน้ำ  ถามว่าเมื่อเวลาผ่านไปจะเกิดเหตุการณ์ใดขึ้น ?



ก.      ความเข้มข้นของ  O2  ภายในเซลล์จะเพิ่มขึ้น
ข.      ความเข้มข้นของ  CO2  ภายในเซลล์จะคงที่
ค.      ความเข้มข้นของ  O2  ภายนอกเซลล์จะคงที่
ง.       ความเข้มข้นของ  CO2  ภายนอกเซลล์จะลดลง



ภาพข้างล่างนี้เป็นโปรติสชนิดหนึ่ง 



31. ข้อใดเป็นโครงสร้างที่คอยรักษาระดับน้ำภายในร่างกายของโปรติสนี้ ?
.  A                             .  B                                      .  C                                      .  D




32.   จากการตรวจสอบ  โดยใช้ออกซิเจน-18  (O18นักวิทยาศาสตร์พบว่าออกซิเจนที่ปล่อยออกมา จากพืชระหว่างกระบวนการหายใจนั้น ได้มาจากโมเลกุลใด ?
.  CO2                          .  H2O                                 กลูโคส                           คลอโรฟิลล์



33.   รูปข้างล่างนี้เป็นการเจริญของหัวหอมเมื่อขณะที่มีและไม่มีแสงข้อความต่อไปนี้กล่าวได้ถูกต้อง เกี่ยวกับภาพนี้ ?



ก.      พืชต้องการ  O2  เพื่อการอยู่รอด
ข.      สภาวะแวดล้อมไม่มีผลกระทบต่อการเจริญของพืช
ค.      พืชมีการสร้างฮอร์โมน
ง.       สภาวะแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการแสดงออกของลักษณะพันธุกรรมหนึ่ง  ๆ
  


34.    เมื่อพิจารณาความเหมือนระหว่างพ่อ-ลูก ของคนสองคนที่เกี่ยวพันกันทางพันธุกรรมแล้ว  
       ข้อความใดสรุปได้ถูกต้อง ?

ก.      ทั้งคู่มี  DNA  เหมือนกัน
ข.      ทั้งคู่มีโปรตีนชนิดเดียวกันมีลำดับอะมิโนเหมือนกันอยู่
ค.      ทั้งคู่มีลำดับเบสใน  DNA  เหมือนกัน
ง.       ทั้งคู่มีอัตราการกลายพันธุ์ที่เท่า  ๆ  กัน

35.   รูปข้างล่างนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงของลักษณะภายนอก  (ฟีโนไทป์ของแมลงพันธุ์หนึ่ง  เมื่อเวลาผ่านไป  10  ชั่วอายุ  ถามว่าน่าจะมีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้น ?



ก.      แมลงที่มียีน  สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมได้ไม่ดี
ข.      แมลงที่มียีน  สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมได้ดี
ค.      ประชากรของแมลงมีจำนวนเพิ่มขึ้น
ง.       มีการกลายพันธุ์ของยีน  ลดลง


36.  จากรูปข้างล่างนี้  ระบบนิเวศนี้จะคงอยู่ได้ถ้า ?


ก.      สิ่งมีชีวิต  มีมากกว่าสิ่งมีชีวิต  B
ข.      สิ่งมีชีวิต  มีเท่ากับสิ่งมีชีวิต  B
ค.      สิ่งมีชีวิต  ถูกกำจัดให้หมดไป
ง.       อัตราการเกิดและอัตราการตายของสิ่งมีชีวิต  และ  B  เท่า  ๆ  กัน

37.   กราฟข้างล่างนี้  เป็นการเปลี่ยนแปลงของประชากรของสัตว์กินพืชชนิดหนึ่ง  ถามว่าเหตุใดมีการเปลี่ยนแปลงประชากรนี้น่าจะเกิดจาก ?



ก.      จำนวนพืชมีจำนวนลดลง
ข.      สิ่งมีชีวิต  แย่งชิงอาหารได้เก่งกว่าสิ่งมีชีวิต  A
ค.      สิ่งมีชีวิต  มีการออกลูกหลานมากกว่าสิ่งมีชีวิต  B
ง.       สิ่งมีชีวิต  กินสิ่งมีชีวิต  B

38.   ภาพข้างล่างนี้เป็นภาพของฟอสซิลที่ภาพที่ก้นทะเลแห่งหนึ่ง  พบว่าซากฟอสซิลที่พบในชั้น  มีความเหมือนกันกับซากฟอสซิลที่พบในชั้น  เราจะอธิบายเหตุการณ์นี้ได้อย่างไร ?



ก.      การทับถมของซากฟอสซิลในชิ้น  เกิดขึ้นก่อนชิ้น  A
ข.      สิ่งมีชีวิตในปัจจุบันน่าจะมีวิวัฒนาการมาจากสิ่งมีชีวิตในยุคก่อน
ค.      ซากฟอสซิลของสัตว์มีกระดูกสันหลังจะพบที่ก้นทะเลเท่านั้น
ง.       ซากฟอสซิลในชิ้น  น่าจะมีความซับซ้อนมากกว่าซากฟอสซิลในชิ้น  B


39.   หัวข้อใดน่าจะเป็นหัวข้อ  X ?

สิ่งมีชีวิต
X
A
ผิวหนังที่ชื้น
B
ท่ออากาศ
C
เหงือกและหลอดเลือด

ก.      โครงสร้างในการหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน
ข.      โครงสร้างที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนก๊าซ
ค.      ระบบที่ใช้ในการขับถ่าย
ง.       ระบบที่ใช้ในการย่อยอาหาร

40.   การเสนอชื่อวิทยาศาตร์ของสิ่งมีชีวิต  ถามว่าชื่อวิทยาศาตร์ดังกล่าวบ่งบอกถึงอะไร ตามลำดับ?

อาณาจักรและไฟลัม                                            ไฟลัมและจีนัส
จีนัสและสปีชีส์                                                     อาณาจักรและสปีชีส์

  
ฉลย
21.  
22.  
23.  
24.  
25.  
26.  
27.  
28.  
29.  
30.  
31.  
32.  
33.  
34.  
35.  
36.  
37.  
38.  
39.  
40.  

วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2558

การแลกเปลี่ยนก๊าซ (Gas exchange in animals)

การแลกเปลี่ยนก๊าซ (Gas exchange in animals)

        1.  เหงือก : อวัยวะสำหรับการแลกเปลี่ยนแก๊ซในสัตว์น้ำ

     ·   มี  gills (เหงือก) เป็นอวัยวะในการแลกเปลี่ยนก๊าซ เหงือกมีลักษณะต่างๆ กันไปในสัตว์น้ำแต่ละชนิด       
     ·   ในสัตว์น้ำมีกระบวนการเรียกว่า  การหล่อเลี้ยง/หรือระบายด้วยลม (ventilation)  ซึ่งเป็นการเพิ่มการไหลเวียนของน้ำ (ซึ่งมี O2 อยู่น้อยให้มากขึ้น  ตัวอย่างไหลเวียนของน้ำผ่านเหงือกในปลา
    · ในปลาน้ำที่ผ่านเหงือกจะมีทิศทางการไหลเวียนตรงข้ามกับทิศทาง การไหลของเลือดทำให้การถ่ายเอา O2 ออกจากน้ำได้ถึง 80 %     

2.  ระบบท่อลม (tracheal  systems) และปอดในสัตว์บก

         ·   O2 และ CO2 มีการแพร่ได้รวดเร็วในอากาศ  สัตว์บกจึงไม่จำเป็นต้องมีระบบการหล่อ เลี้ยงด้วยลม (ventilation)     ในทางกลับกัน  ปัญหาที่สำคัญของสัตว์บกคือ  ต้องรักษาความชื้นในอวัยวะที่มีการแลกเปลี่ยนก๊าซ  เนื่องจากว่ามีการเสียน้ำไปกับอากาศที่หายใจเข้ามาตลอดเวลา
2.1 ระบบท่อลม (tracheal  systems)
    · ในแมลงระบบท่อลม (tracheal  system)  จะมีท่อลำเลียงอากาศที่แตกแขนงไปตามร่างกาย     ท่อที่ใหญ่ที่สุดเรียกว่า  trachea  ซึ่งจะเปิดสู่ภายนอกได้  ท่อลำเลียงอากาศเล็กๆ จะแตกกิ่งก้านไปยังเซลล์ต่างๆ  ก๊าซออกซิเจนจะแพร่ผ่านเนื้อเยื่อบุผิว (epithelium)  ที่อยู่ปลายสุดของระบบท่อลม
2.2  Lungs (ปอด)
                        ·   มีเส้นเลือดฝอย (capillaries) โยงใยอยู่หนาแน่น
                        ·   เป็นที่แลกเปลี่ยนก๊าซ
                        ·   พบใน  แมงมุม  หอยทาก  สัตว์มีกระดูสันหลัง

                  2.3    ระบบหายใจในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม
          ·   ปอดอยู่บริเวณอก (chest ) คล้ายฟองน้ำ  มีพื้นที่ประมาณ 100  ตารางเมตรในคน
       ·   อากาศผ่านจากการหายใจเข้าทางจมูกสู่  pharynx ไป larynx ไป trachea (ท่อลม) ไป bronchus ไป bronchioles ไป alveoli  ซึ่งเป็นที่ๆ มีการแลกเปลี่ยน O2 กับ CO2  
          ·    คนเราดึงอากาศเข้ามาในปอดด้วย negative pressure breathing = ดูดอากาศลงมาที่ปอด
        ·   ปอดที่ขยายขึ้นเกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อซี่โครงและ diaphragm ซึ่งเป็นแผ่นกล้ามเนื้อด้านล่าง  ช่องว่างอกเลื่อนลง
       ·   ปริมาณอากาศที่เราหายใจเข้า-ออก 1 ครั้ง เรียกว่า tidal volume  ซึ่งประมาณ 500 ml  ในคน
       ·   ปริมาณอากาศที่เราสามารถหายใจเข้าออกได้มากที่สุดเรียกว่า  vital  capacity  ซึ่งจะประมาณ 3400 ml  และ  4800  ml  ในผู้หญิงและผู้ชายตามลำดับ
          ·   อย่างไรก็ตามอากาศใน  alveoli จะไม่หมดไปเลยที่เดียว เมื่อเราหายใจออก  อากาศที่เหลือ จากที่เราพยายามหายใจออกให้มากที่สุดแล้วเรียกว่า  residual  volume
         ·   นกมีถุงลม 8 – 9 ถุง  ซึ่งจะต่อเข้าไปในส่วนบริเวณ  ท้อง  คอ  จนถึงปีก  ถุงลมช่วยในการผ่านอากาศสู่ปอด  และช่วยในการบิน  ในนกมีท่อเล็กๆ เรียก  parabronchi แทนที่จะเป็น  alveoli


3.  การควบคุมการหายใจ
     ·   Breathing  control  centers  อยู่ที่สมองส่วน  Medulla  oblongata  กับ Pons
     ·   Medulla’s  center  ควบคุมจังหวะการหายใจพื้นฐานร่วมกับ   pons เมื่อเราหายใจลึกๆ  จะมีตัว sensors ที่  lung  tissuส่งกระแสประสาทมาที่  medulla  ยังยั้ง  breathing  control  center  ไม่ให้ปอดขยายมากเกินไป
    ·   Medulla’s control center  ยังคอยรักษาระดับ CO2   ซึ่งจะมีค่า  pH  ในเลือดเป็นตัวบอก (CO2 + H2O ® carbonic  acid (H2CO3) ® pH ลดลง  ถ้า  pH  ในเลือดลดลงจะทำให้หายใจเพิ่มขึ้น


4.  การแพร่ของก๊าซในปอดและอวัยวะต่างๆ
     ·   partial pressure  ของ  O2 = ความดันมาตรฐานระดับน้ำทะเล
        (760  mm Hg) ´ % O2 ในอากาศ  
                                                    = 760 ´ 0.21 = 160 mm ปรอท
     ·   ก๊าซจะมีแพร่จากที่ๆ higher partial  pressure  ไปใน  lower  partial  pressure
     ·   partial pressure  ของ  Oที่เราหายใจเข้า (inhaled air) เท่ากับ 160 mm ปรอท 


5.  การขนส่งก๊าซโดย  respiratory  pigments
5.1    การขนส่ง O2
       ·   ใน arthropods  และ  mollusks  เลือดมีสีน้ำเงินเกิดจาก hemocyanin (ที่มี Cu2+ เป็นสีฟ้า) ซึ่งเป็นโปรตีนที่คอยขนส่ง O2 ในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง  ส่วนในสัตว์มีกระดูกสันหลังมี hemoglobin  ซึ่งประกอบด้วย 4 subunits  ย่อยๆ แต่ละ subunit จับกับ 1 cofactor (heme) ซึ่งจะเรียกเป็น  1 hemogroup  และจะมี ion atom (Fe2+) อยู่ที่ศูนย์กลาง hemogroup ด้วย     แต่ละ  hemoglobin  molecule  สามารถจับกับ O2 ได้ โมเลกุล (molecules)
     ·   ถ้า  pH  ในเลือดลดลง  การจับของ hemoglobin กับ O2 จะลดลงด้วย  เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า  Bohr  shift
                  
5.2   การขนส่ง  CO2
      ·   hemoglobin ยังช่วยขนส่ง  CO2  และรักษาระดับ pH ในเลือด
                  ·   70 % ของ  CO2 ในเลือดอยู่ในรูปของ  bicarbonate ions (HCO3-) เมื่อมีการแพร่ของ CO2 ออกจากเลือดทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสมดุลย์ทางเคมี  ทำให้ H2CO3 เปลี่ยนเป็น CO2 เมื่อเลือดเคลื่อนเข้าสู่เส้นเลือดฝอย capillaries
                      
         6.  สัตว์บางชนิดมีการเก็บ O2 ไว้ได้
                 ·   แมวน้ำสามารถเก็บ O2 ไว้ได้
          · แมวน้ำมีเลือดถึง 24 ลิตรสามารถเก็บ O2 ไว้ได้มากกว่าเรา ดำน้ำได้เกือบ 1 ชั่วโมง
              ·   คนในปอดมี O2  36 % ในเลือดมี O2  51 %  เทียบกับแมวน้ำซึ่งมี O2 ในปอด  5 %  ในเลือด  70 %  อาจเนื่องมาจากแมวน้ำมีเลือดมากกว่าเรา 2 เท่า  เมื่อเทียบตามน้ำหนักตัวและมีม้ามที่เก็บเลือดได้ถึง 24 ลิตร
                 ·   นอกจากนี้สัตว์ที่ดำน้ำได้เก่งๆ จะมีโปรตีนชื่อ myoglobin  ในกล้ามเนื้อ  ซึ่งเป็นที่เก็บ  O2 ซึ่งในแมวน้ำสามารถเก็บ O2 ไว้ในกล้ามเนื้อนี้ประมาณ 25 % เทียบกับคนเพียงแค่ 13 %
                 ·  นอกจากนี้ hemoglobin ของทารกในครรภ์ยังจับกับ O2 ได้ดีกว่า

          _______________________________________________________________________