การถอดรหัสดีเอ็นเอ
(DNA
Transcription)
DNA -----transcription---> RNA ----translation----> Protein (polypeptide)
1.
บทนำ
(Introduction)
RNA product ที่ได้จากกระบวนการ
transcription จะมีลำดับเบส complementary กับดีเอ็นเอต้นแบบ (DNA template) กระบวนการ transcription เป็นกระบวนการที่ใช้สังเคราะห์
RNA ทั้ง 3 ชนิดคือ
1. messenger RNA (mRNA) = อาร์เอนเอนำรหัสใน protein
synthesis
2. transfer RNA (tRNA) = ผู้ขนส่งกรดอะมิโนในกระบวนการ
protein synthesis
3. ribosomal RNA (rRNA) = โมเลกุลที่เป็นองค์ประกอบของไรโบโซม
2. กระบวนการถอดรหัสในโปรคาริโอต (Transcription in Procaryotes)
·
Prokaryotic mRNA เป็น single-stranded RNA มีความยาวขนาดต่าง ๆ
กันไป mRNA ของโปรคาริโอต มีส่วนที่ไม่ใช้ถอดรหัสเป็นโพลีเปปไทด์ (polypeptide) รวมอยู่ด้วยเรียกว่า nontranslated leader sequence ยาว 25-150 bp และที่ปลาย 5’- end ของ mRNA และใน polygenic mRNAs (mRNAที่ใช้สังเคราะห์ >1
polypeptide) มี spacer regions ไว้กั้นระหว่าง
polypeptides และที่ปลาย 3’ – end ของ mRNA
จะเป็น non‑translated trailer
·
mRNA ถูกสังเคราะห์จาก DNA template โดย RNA
polymerase ใน E. coli สามารถพบ RNA
polymerase ได้ถึง 7,000 โมเลกุล การทำงานของ RNA
polymerase จะคล้าย ๆ กับ DNA polymerase แต่จะใช้
ATP, GTP, CTP และ UTP ที่มี ribose
(ในDNA เป็น deoxyribose) เป็นองค์ประกอบใน nucleotides ในการสังเคราะห์ mRNA
สมการ:
n[ATP,
GTP, CTP, UTP] -----with RNA polymerase & DNA template----> RNA + nPPi
·
การสังเคราะห์
RNA จะเป็นไปในทิศทาง 5’ ® 3’ (ของสายใหม่) ใน
E. coli ด้วยความเร็วประมาณ 40 nucleotides ต่อ 1 วินาที ที่ 37°C
·
RNA polymerase จะประกอบด้วย โปรตีน 5 subunits คือ a2 (alpha
two), b (beta), b’ (beta prime) และ s (sigma) ซึ่งส่วนประกอบที่เป็น a2 ,b , b’ จะเรียกว่าเป็น core
enzyme ทำหน้าที่เป็นตัวคาตาไลต์ (catalyst) สังเคราะห์ RNA ส่วน sigma factor (s) ทำหน้าที่ช่วยจดจำบริเวณ start
site ในการสังเคราะห์ RNA และถ้า s factors ต่างชนิดกัน ® ลำดับเบสของ promoter จะต่างกัน ใน E. coli sigma factor จะเป็นชนิด s70(70,000
kDa)
2.1 Initiation and Elongation of Transcription
·
บริเวณที่
RNA polymerase จับบนสาย DNA
เรียกว่า promoter ซึ่งอยู่หน้า transcription
starting point ประมาณ 10 bp โดยมีลำดับเบส
(ใน E. coli)เป็น TATAAT
(หรือเรียกว่า -10 region หรือ Pribnow
box) และ TTGACA (-35
region)
·
เมื่อ RNA polymerase จับสาย DNA ที่บริเวณ promoter จะคลายเกลียว (unwind) สาย DNA บริเวณ Pribnow box และการจับสาย DNA ของ RNA polymerase ยังช่วยให้สาย DNA ไม่ถูกย่อยจาก endonuclease ด้วย หลังจากนั้น RNA polymerase จะเริ่มกระบวนการสังเคราะห์ RNA (s factor ก็จะหลุดออก RNA
polymerase ในช่วงนี้) จาก start
site (ซึ่งมักมีลำดับ nucleotide ตัวแลกเป็น
A หรือ G)
และเนื่องจากว่า หมู่ phosphate จะไม่ถูกตัดออกไปที่ปลาย
5’-end ของ mRNA ดังนั้น procaryotic
mRNA จึงมี triphosphate ติดอยู่ที่ 5’-end
2.2 Regulation of mRNA synthesis
2.2.1
Induction
and repression
·
enzymes ที่สร้างจาก lac operon สามารถถูก induced
และ repressed โดย lactose หรือ lactose analogue (isopropyl-b-D – thiogalactoside : IPTG) หรืออีกตัวคือ
allolactose ซึ่งเรียกสารทั้งสองชนิดนี้ได้ว่าเป็น
ตัวเหนี่ยวนำ หรือ inducers
· เราเรียกได้ว่า enzyme
b- galactosidase เป็น inducible enzyme
· เอนไซม์ที่สามารถ reduced โดย end product เรียกว่า repressible enzyme และ สาร metabolites
ที่ทำใน repressible enzymes มีปริมาณลดลงเรียกว่า
corepressors
2.2.2
Negative
control
ทั้ง induction
และ repression เป็นรูปแบบของ negative
control นั่นคือ การสังเคราะห์ mRNA จะดำเนินไปได้เร็วกว่าถ้าไม่มีปัจจัยควบคุม
(controlling factor)
ตัวอย่างของ negative control เช่นใน lac operon ซึ่งจะถูกควบคุมโดย lactose repressor โดยที่ lactose
repressor จะไปจับที่ operator ของ lac
operon ทำให้ขัดขวางการเข้ามาจับของ RNA polymerase ที่ promoter site ยับยั้ง transcription
2.2.3
Positive
control
ในทางตรงกันข้ามกับ negative
control มีบาง operon ที่สามารถทำงานได้เมื่อมีปัจจัยควบคุม
(controlling factor) เรียกการทำงานแบบนี้ว่า positive
operon control และใน lac operon ก็มีการควบคุมแบบนี้
(lac operon ถูกควบคุมได้ทั้ง negative และ positive
control)
positive control ของ lac operon ควบคุมโดย catabolite
activator protein (CAP) และ 3’,5’-cyclix
adenosine monophosphate (CAMP) (fig 12.26) และ lac
repressor protein ด้วย ที่ lac promoter มี CAP site (ให้ CAP มาจับ)
ซึ่ง CAP จะต้องเข้ามาจับก่อนที่ RNA
polymerase เข้ามาจับที่ promoter เพื่อทำการ transcription
(fig 10-9) และการที่ cAMP- CAP ที่ CAP
site จะทำให้งอสาย DNA เป็นมุม 90°
หลังจากนั้น RNA polymerase จึงเข้ามาจับ
® ทำให้เกิดการ
transcription
การจับของ cAMP-CAP
และ RNA polymerase ที่ lac control
region นี้จะทำให้เกิดการกระตุ้นการจับของกันและกัน ต่อสาย mRNA ให้แน่นขึ้น
เรียกว่าเป็น cooperativity และถ้า CAMP-CAP หรือ RNA polymerase จับสาย mRNA เพียงตัวเดียวจะมี affinity การจับต่ำกว่าการจับพร้อมกัน
สรุปแล้วใน positive
control ที่กระตุ้นการทำงานของ lac operon นั้นขึ้นอยู่กับ
2 ปัจจัยหลักคือ การมี cAMP และ lactose
2.2.4
Attenuation
· Rho- dependent terminator พบใน l- phage (สังเคราะห์ Cro-DNA
binding protein ที่เหี่ยวนำ lytic pathway
· Rho-independent termination มี Rho-independent termination
sites ซึ่งมี 2 ลักษณะคือ 1) poly U
ตามหลัง 2) GC-rich self –complementary region ซึ่งสามารถฟอร์มเป็น stem-loop ซึ่งจะทำให้หยุดการทำงานของ
RNA polymerase
·
Premature
termination by attenuation
ใน trp operon มี attenuator site
ซึ่งอยู่ในตำแหน่ง down-stream จาก promoter
– operator region ก่อน structural genes ของ trp
operon เรียกว่าเป็น leader sequence (L) มีความยาว 165
nucleotides จาก AUG start codon ของ E
. coli gene (บน trp operon)
จากการศึกษาพบว่า E. coli ปกติ เมื่อมี tryptophan ในการเจริญจะมีการสังเคราะห์
leader RNA เท่านั้นส่วนที่เหลือของ trp
operon จะไม่ถูก transcribed แต่พอเมื่อ tryptophan
มีน้อยลง ทั้ง leader sequence และ trp operon จะถูก transcribed ทั้งนี้เกิดจากที่ trp leader RNA มี 4
regions ที่สามารถเกิดเป็น stem-loop structures และ 1ในจำนวนนี้ทำให้เกิด attenuation คือ
1. high tryptophan
ทำให้เกิดการฟอร์มของ the 3-4 stem-loop ที่ trp
leader RNA ที่มี poly U เป็นหาง ทำให้เกิดการ termination
แบบ Rho-independent
2.
low trptophan เนื่องจากว่า region 1 ของ trp leader RNA มี tryptophan
codons อยู่-หลาย codons ดังนั้นเมื่อ E.
coli ขาดกรดอะมิโน trptophan จึงทำให้ขาด Trp– tRNATrp ที่จ่ายเข้ามาใน
ribosome ทำให้ ribosome
หยุดที่ region 1 ของ trp
leader RNA นี้
ในทางกลับกันถ้า tryptophan
เพียงพอในเซลล์ ribosome
จะเคลื่อนผ่าน region 1
ไป region
2 เกิดการฟอร์ม 3-4
stem-loop ดังนั้นจึงทำให้เกิดการฟอร์มของ
2-3 stem-loop ทำให้ region 3 ไม่สามารถ
complement กับ region 4 ได้ และทำให้กระบวนการ transcription ของ trp operon เกิดขึ้นต่อทำให้สังเคราะห์ยีน
EDCAB บน trp operon เพื่อใช้สังเคราะห์ tryptophan
ต่อไป
___________________________________________________________________
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น