วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558

สารโมเลกุลเล็ก (small & building block molecules)

สารโมเลกุลเล็ก (small & building block molecules)


1.      บทบาทที่สำคัญของสารโมเลกุลเล็ก
 สารโมเลกุลเล็กๆ เป็นโมเลกุลที่จำเป็นต่อกระบวนการต่างๆของสิ่งมีชีวิต ดังเช่น สารโมเลกุลต่าง ๆ ที่สังเคราะห์ขึ้นจากกระบวนการเมตตาโบลิซึม (metabolisms) ของสิ่งมีชีวิต สารโมเลกุลเหล่านี้ รวมถึงเมตตาโบไลท์ (metabolites) ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาเพื่อนำมาใช้เป็นพลังและโครงสร้างของชีวิต
ในบทนี้เราจะกล่าวถึงว่า สารโมเลกุลเล็ก (small molecules) ที่ได้จากกระบวนการเมตตาโบลิซึมนั้นถูกนำมาใช้เป็นหน่วยโครสร้าง (building blocks) ในกระบวนการสังเคราะห์สารประกอบขนาดใหญ่ (macromolecular synthesis) ได้อย่างไร ซึ่งจะกล่าวถึงการสร้าง nucleic acids, proteins และ lipids ส่วนการการสร้างของ carbohydrates จะกล่าวในบทต่อไป การสังเคราะห์สารทั้ง 4 ชนิดนี้เป็นสารที่มีความสำคัญมากต่อจุลินชีพและรวมถึงสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ด้วย


2.      The Synthesis of Purines, Pyrimidines, and Nucleotides
Biosynthesis ของ purine และ pyrimidine เป็นกระบวนการที่สำคัญเนื่องจากสาร purine และ pyrimidine ใช้ในการสังเคราะห์ ATP, cofactors ต่างๆ, RNA, DNA และองค์ประกอบที่สำคัญของเซลล์
·    purines และ pyrimidines เป็น cyclic nitrogenous bases ซึ่งมีพันธะคู่อยู่และมีคุณสมบัติของ aromatic (aromatic properties) purines ประกอบด้วย 2 rings ในขณะที่ pyrimidines มี 1 ring 
·       purines = adenine และ guanine
·       pyrimidine = cytosine, thymine และ uracil
·       nucleoside = purine or pirimidine + pentose sugar
·       nucleotide = purine or pirimidine + pentose sugar + phosphate groups


2.1  Purine Biosynthesis
·    กระบวนการสังเคราะห์ purine นั้นค่อนข้างซับซ้อน มีทั้งหมด 11 ขั้นตอน  ซึ่งใช้โมเลกุลจากสารต่าง ๆ 7 โมเลกุลมาประกอบเป็น purine skeleton กระบวนการสังเคราะห์ purines เริ่มต้นจากสาร ribose 5-phosphate และได้ผลิตภัณฑ์สุดท้ายเป็น inosinic acid ในกระบวนการสังเคราะห์ purine มี cofactor ที่สำคัญคือ folic acid       จาก pathway การสังเคราะห์ purine จะเห็นว่า folic acid derivatives ให้หมู่ Carbon    2 ตัว กับ purine skeleton ตรงตำแหน่ง C2 และ C8      มียาปฏิชีวนะตัวหนึ่งชื่อ sulfonamide จะไปยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียโดยมันจะไปยับยั้งการสังเคราะห์ folic acid ทำให้ไปรบกวนการสังเคราะห์ purine และกระบวนการอื่น ๆ ที่ต้องการ folic acid ในแบคทีเรีย

·    เมื่อได้ inosinic acid แล้วจะมีกระบวนการสั้น ๆ ในการสังเคราะห์ adenosine monophosphate และ guanosine monophosphate 

·    หลังจากนั้น adenosine monophosphate และ guanosine monophaophate จะถูกเติมด้วย phaosphate จาก ATP ได้เป็น nucleoside di- และ triphosphate


2.2  Pyrimidine Biosynthesis
·    กระบวนการสังเคราะห์ pyrimidine เริ่มต้นจากสารตั้งต้น 2 ตัว คือ aspartic acid และ carbamoyl phosphate (สังเคราะห์จาก CO2 และ ammonia) เอนไซม์ aspartate carbamoyl transferase จะทำการรวมโมเลกุลทั้ง 2 ข้างต้นฟอร์มเป็น carbamoyl aspartate แล้วจึงถูกเปลี่ยนให้เป็น orotic acid
·    หลังจากนั้น orotic acid จะถูกเติมด้วย ribose 5-phosphate โดยสาร intermediate ที่มีพลังงานสูงชื่อ PRPP : 5-phosphoribose 1- pyrophosphoric acid 
·    การสังเคราะห์ pyrimidines ต่างจาก purines  ตรงที่สังเคราะห์ pyrimidine ก่อนแล้วจึงเติมหมู่ ribose sugar เข้าไปแต่ใน purines เริ่มจาก ribose 5-phosphate แล้วจึงสังเคราะห์ purine ขึ้นมา 
·    ในการสังเคราะห์ thymine ได้จากการการเติมหมู่ methyl เข้าไปที่โมเลกุลของ deoxyuridine monophosphate โดย folic acid derivative 
·       ส่วน deoxyribonucleotides เกิดจากการ reduction โดย sulfur-containing protein ชื่อ thioredoxin 



3.      The Synthesis of Amino Acids
การสังเคราะห์กรดอะมิโนนั้นสิ่งแรกที่จำเป็นคือ การสังเคราะห์โครงสร้างหลักที่สำคัญก่อน ซึ่งกระบวนการเหล่านี้จะค่อนข้างซับซ้อนและมีขั้นตอนมาก และเนื่องจากว่าสิ่งมีชีวิตจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคอยอนุรักษ์ธาตุไนโตรเจน ธาตุคาร์บอน ดังนั้นพลังงานการสังเคราะห์กรดอะมิโน จึงมักจะถูกควบคุมอย่างเข้มงวดด้วย allosteric และ feedback mechanisms ในหัวข้อนี้เราจะไม่พูดถึงการสังเคราะห์กรดอะมิโนที่เป็นรายละเอียดมาก ซึ่งรายละเอียดการสังเคราะห์อะมิโนนักศึกษาสามารถหาอ่านได้จากหนังสือชีวเคมี
·    ใน amino acid biosynthetic pathways โดยที่ amino acid skeletons นั้นได้มาจาก 1) acetyl-coA จาก TCA cycle 2 ) glycolysis และ 3) pentose phosphate pathway
·    alanine, aspartate และ glutamate เกิดจากกระบวนการ transamination โดยตรงจาก pyruvate, oxaloacetate และ  a- ketoglutarate ตามลำดับ 
·       การสังเคราะห์กรดอะมิโนบางชนิดเกิดมาจาก intermediate ตัวเดียวกัน 

  


4.      Lipid Synthesis
·    ไขมันที่พบในสิ่งมีชีวิต จะมีความหลากหลายมากโดยเฉพาะไขมันที่ cell membranes ไขมันส่วนมากจะประกอบด้วย fatty acids หรือ derivatives ของ fatty acids
·    fatty acids เป็น monocarboxylic acids ที่มี alkyl chains    ในแบคทีเรีย Gram- negative มักจะมี cyclopropane fatty acids
·    fatty acids นั้นถูกสังเคราะห์โดยเอนไซม์  fatty acid synthetase จาก สารตั้งต้น acetyl-CoA และ malonyl-CoA โดยใช้ NADPH เป็น reductant
·       Malonyl-CoA ได้มาจากปฏิกิริยา carboxylation ของ acetyl-CoA กับ ATP
·       ในการสังเคราะห์ fatty acid นั้นมีโปรตีนตัวหนึ่งคอยช่วยเหลือชื่อว่า acyl carrier protein (ACP)
·       fatty acid synthesis  เริ่มจาก
1)      malonyl-ACP ทำปฏิกิริยากับ fatty acyl-ACP ได้ acyl-ACP ที่มีธาตุคาร์บอนเพิ่มขึ้นมา 2 ตัว กับ CO2
2)   เกิดปฏิกิริยา reductions (2ครั้ง) และ dehydration (1 ครั้ง) ได้ หมู่ b- keto group บน fatty acid หลังจากนั้น fatty acid โมเลกุลนี้จะพร้อมที่จะถูกเติมด้วย 2 carbon atoms ต่อไป

·       กรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fatty acid) เกิดขึ้นโดยกระบวนการ
1)   aerobic pathway ใช้ NADPH และ O2 ทำให้เกิด double bond ระหว่าง C9 และ C10 พบใน eucarydtes และ aerobic bacteria
2)   anaerobic pathway โดยทำการ dehydration โมเลกุลของ hydroxy fatty acid พบใน Gram- negative bacteria เช่น E. coli,  Salmonella typhimurium, Gram- positive bacteria เช่น Lactobacillus plantarum และ Clostridium pasteurianum และพบใน cyanobacteria
·    Phospholipids มักจะสังเคราะห์มาจาก phosphatidic acid ใน procaryotes ยกตัวอย่าง phosphatidylethanolamine ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของ cell membrane ของ bacteria สังเคราะห์จาก CDP-diacylglycerol (CDP = Cytidine diphosphate เป็น carrier) ซึ่งทำปฏิกิริยากับ serine ได้เป็น phospholipid phosphatidylserine และต่อไปจะถูก decarboxylation ได้เป็น phosphatidylethanolamine ในที่สุด จาก pathway นี้จะเห็นว่า membrane lipid ต่างๆนั้น สังเคราะห์มาจากสารที่ได้จากทั้ง glycolysis, fatty acid biosynthesis และ amino acid biosynthesis 

_________________________________________

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น