สัญญาณเคมีในคน (Chemical signals (hormones) in humans)
- ฮอร์โมน (hormone, ภาษากรีก hormon
= excite)
เป็นสัญญาณเคมีที่ส่งออกมาเพื่อการสื่อสารและควบคุมร่างกาย
1. บทนำ: ระบบการควบคุมการทำงานของร่างกาย
ในสัตว์ทั่วๆไป มีระบบที่คอยควบคุมการทำงานของร่างกาย 2 ระบบคือ
1) ระบบประสาท (nervous
system)
2) ระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine
system)
ซึ่งอวัยวะที่ขับฮอร์โมนออกมาเรียกว่า ต่อมไร้ท่อ (endocrine
or ductless glands)
1.1 ระบบประสาทกับระบบต่อมไร้ท่อมีโครงสร้างหน้าที่การทำงานสัมพันธ์กัน
- อวัยวะต่อมไร้ท่อ (endocrine
organs) และ เนื้อเยื่อ (tissue) มีเซลล์ที่ชื่อว่า neurosecretory
cells ซึ่งจะขับฮอร์โมน (hormone) ออกมาสู่กระแสเลือด
- การทำงานของระบบประสาท
สัมพันธ์กับระบบต่อมไร้ท่อ
1.2 การทำงานร่วมกันของระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ
ในแมลงและสัตว์ที่มีเปลือกหุ้ม
การเจริญเป็นตัวเต็มวัยจะถูกกระตุ้นด้วยฮอร์โมน “ecdysone”
ในแมลง ecdysone ขับมาจาก prothoracic
glands (อยู่ด้านหลังหัว) นอกจากนี้แล้ว ecdysone ยังช่วยให้เกิดการพัฒนาจากตัวหนอนไปเป็นผีเสื้อเต็มวัยอีกด้วย
ในแมลงการขับ ecdysone ถูกควบคุมโดย brain hormone (BH) นอกจากนี้ยังมี juvenile hormone
(JM) ที่คอยช่วยในการพัฒนาของ larvae
2. สัญญาณเคมีและหน้าที่ของสัญญาณเคมี
2.1 เป็นโมเลกุลที่ควบคุมเซลล์เป้าหมายที่อยู่ใกล้ๆ
- ตัวอย่างเช่น neurotransmitters ที่ส่งสัญญาณประสาท
- มีเซลล์หลายๆชนิดที่สร้างก๊าซไนตริกอ๊อกไซด์,
nitric oxide (NO) NO จะถูกส่งไปยังเซลล์เป้าหมาย
และมีผลต่อเซลล์นั้นภายในไม่กี่วินาทีแล้วก็จะถูกทำลายไป เซลล์เม็ดเลือดขาวขับ NO ออกมาเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งและแบคทีเรีย นอกจากนี้ก็ยังมี endothelial cells ที่ผนังหลอดเลือดซึ่งขับ NO ออกมาเพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อที่ผนังเส้นเลือดคลายตัว
- Growth
factors เป็นโปรตีนที่ควบคุมการเจริญของเซลล์
เช่น epidermal growth factor
(EGF) ในหนูจะช่วยในการพัฒนาของผิวหนัง
- insulinlike
growth factor (IGFs) จำเป็นต่อการพัฒนาของโครงกระดูก
- Prostaglandins
(PG) เป็นกรดไขมันที่สร้างมาจาก plasma
membrane
-
Postaglandins ทำหน้าที่ในการเหนี่ยวนำให้เกิดระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายช่วย
ในการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อช่องคลอดขณะคลอด prostaglandin
E (PGE) และ Prostaglandin
F (PGF) ทำให้กล้ามเนื้อเรียบที่ผนังของหลอดเลือดคลาย
และหดตัวตามลำดับ
2.2 สัญญาณเคมีจับกับตัวรับที่เป็นโปรตีน
สัญญาณเคมี (chemical
signals) แต่ละชนิดมีโครงสร้างต่างๆกันและจะจับกับตัวรับ (receptor) ที่เฉพาะที่อยู่ที่พลาสมาเมมเบรน (plasma membrane) หรือภายในเซลล์ของเซลล์เป้าหมาย สัญญาณเคมีตัวหนึ่งสามารถออกฤทธิ์ได้กับเซลล์เป้าหมายมากกว่า 1 เซลล์เป้าหมาย
สัญญาณเคมีตัวหนึ่งสามารถออกฤทธิ์ได้กับเซลล์เป้าหมายมากกว่า 1 เซลล์เป้าหมาย
เช่นสารสื่อประสาทชื่อ acetylcholine
2.3 สัญญาณเคมีมักจะจับกับ plasma – membrane
proteins ซึ่งทำให้เกิด signal –
transduction pathways
- ในกบ การที่กบเปลี่ยนสีเพื่อใช้อำพรางตัวเอง เกิดจากการทำงานของ peptide
hormone ชื่อ melenocyte–stimulating
hormone (MSH) ซึ่งขับมาจาก pituitary
gland
- กบมีเซลล์ผิวหนังชื่อ melanocytes ซึ่งมีเม็ดสีสีดำ น้ำตาลชื่อ melanosomes
-
melanosomes เกาะกันเป็นก้อนรอบๆ
นิวเคลียสซึ่งจะทำให้เห็นผิวกบเป็นสีจางๆ แต่เมื่อ melanosomes กระจายออกไปทั่วๆเซลล์ จะเห็นผิวกบเป็นสีน้ำตาลเข้ม
- มีการทดลองฉีด MSH เข้าไปภายในเซลล์ melanocytes แต่ผลการทดลองกลับพบว่า MSH ไม่ทำให้ melanosome กระจายตัว
- แต่ถ้าใส่ MSH ไว้รอบๆ
เซลล์ผิวหนังกบ จะทำให้ melanosome กระจายตัวออกไป
- ดังนั้น MSH ไม่สามารถผ่านเซลล์ plasma
membrane เข้าไปได้ แต่จะจับกับ receptor ที่ plasma membrane ซึ่งเรียกว่าเป็นส่วนหนึ่งของ signal – transduction pathways ที่จะรับสัญญาณจากสัญญาณเคมีจากภายนอกเซลล์
แล้วส่งสัญญาณต่อไปยังเป้าหมายภายในเซลล์
2.4 Steroid hormones ,
thyroid hormones และ local
regulators บางชนิด จะเข้าไปจับกับ receptors ภายในเซลล์เป้าหมายโดยตรง
- estrogen และ progesterone เป็นฮอร์โมนที่ออกฤิทธิ์กับเซลล์ใน
reproductive tract ในผู้หญิง
3. Endocrine system ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง
- tropic
hormones = ฮอร์โมนที่มีเซลล์เป้าหมายเป็น endocrine
glands
- sex hormones มีผลต่อเซลล์เกือบทุกเซลล์ในร่างกาย ฮอร์โมนบางชนิดมีหน้าที่ควบคุม หน้าที่ของร่างกาย และบางฮอร์โมนที่จะมีผลต่อบางเซลล์เท่านั้น
3.1 ฮอร์โมนใน hypothalamus และ pituitary
- Hypothalamus และ pituitary เป็นตัวกลางรับส่งสัญญาณสั่งงานการทำงานของ endocrine
system โดยจะรับความรู้สึกมาจากระบบประสาทที่ร่างกายแล้วจึงขับสัญญาณเคมีเพื่อควบคุมการทำงานต่างๆ
-
pituitary gland หรือเคยถูกเรียกว่า master
gland (เพราะว่ามีหน้าที่หลายหน้าที่)
-
pituitary gland แบ่งเป็นส่วน
1) anterior pituitary หรือเรียกอีกอย่างว่า adenohypophysis ซึ่งจะขับฮอร์โมน หลายๆชนิดออกมาสู่เลือด hyporthalamus มีการควบคุมการขับฮอร์โมนของ anterior pituitary โดย hypothalamus จะปล่อย releasing
hormones สั่งงานให้ anterior
pituitary ขับ hormones ออกมา และจะปล่อย inhibiting
hormones ออกมา ยับยั้งการขับ hormones ออกมาจาก anterior pituitary
releasing และ inhibiting
hormones จาก hypothalamus จะขับมาสู่ capillaries ที่
อยู่ด้านล่างของ hypothalamus
2) posterior
pituitary หรือ neurohypophysis เป็นต่อมต่อกับสมอง หน้าที่ขับฮอร์โมน 2 ชนิด ที่สร้างมาจาก neurosecretory
cells ของ hypothalamus
3.1.1 Posterior pituitary
hormones
- ฮอร์โมนขับออกจากต่อมนี้มี 2 ชนิด
คือ 1) oxytocin 2) antidiuretic hormone
(ADH) ซึ่งฮอร์โมนทั้ง 2 ชนิดนี้สร้างที่ Hypothalamus
-
oxytocin เป็นฮอร์โมนที่ทำให้ช่องคลอด (Uterine) หดตัว ระหว่างที่มีการคลอดบุตร
และทำให้ต่อมสร้างน้ำนม (mammary glands) ขับนมออกมาในระหว่างช่วงที่แม่ต้องให้นมบุตร
-
ADH มีผลต่อไตโดยจะทำให้เกิดการกักเก็บน้ำมากขึ้น
และทำให้ปริมาตรของปัสสาวะลดลง
-
ADH ยังเป็นฮอร์โมนที่ควบคุม osmolarity ในเลือดด้วย
3.1.2 Anterior
pituitary hormones
- ฮอร์โมนทั้งหมด 8 ชนิด
ที่สร้างจาก anterior pituitary
- มีฮอร์โมน 4 ชนิดที่ทำหน้าที่กระตุ้นการสังเคราะห์และขับของฮอร์โมนจาก ต่อมไร้ท่ออื่น
1) Thyroid
stimulating hormone (TSH) ควบคุมการปล่อย thyroid
hormones
2) Adrenocorticotropic hormone (ACTH) ควบคุมการผลิตและขับ steroid
hormone จากadrenal cortex
3) Follicle-
stimulating hormone (FSH)
4) Luteinizing hormone
(LH)
FSH และ LH ควบคุมระบบสืบพันธุ์โดยจะ ไปควบคุม gonads (testes ในผู้ชาย และ ovaries ในผู้หญิง) FSH และ LH มีชื่ออีกชื่อว่า gonadotropins
- Growth hormone
(GH) จะกระตุ้นการเจริญ ( growth) โดยตรงหรือทำหน้าที่กระตุ้นการผลิต growth
factors เช่น GH จะกระตุ้นการเจริญของกระดูก และกระดูกอ่อนโดยการไป signals ให้ตับสร้าง insulinlike growth factors
(IGFs) ซึ่งจะปล่อยเข้าสู่กระแสเลือดแล้วไปกระตุ้นการเจริญของกระดูกและ กระดูกอ่อน
GH มาก ทำให้เป็น gigantism ทำให้มีอาการของ acromegaly คือ มือ ขา หัว โตผิดปกต
GH ในช่วงวัยเด็กไม่เพียงพอ
ทำให้เกิด hypopituitary dwarfism
- Prolactin
(PRL) เป็นโปรตีนที่คล้ายกับ GH ซึ่งเชื่อว่ายีนที่สร้างโปรตีนทั้ง 2 ชนิดนี้ มีวิวัฒนาการมาจากยีนตัวเดียวกัน PRL มีหน้าที่หลายอย่าง เช่น PRL จะกระตุ้นให้ mammary
glands เจริญและสร้างน้ำนมใน mamals
- PRL ควบคุมเมตาโบลิซึมของไขมันและการสืบพันธุ์ในนกต่างๆ
ลดการเจริญเป็นตัวเต็มวัย (metamorphosis) ใน amphibians เพิ่มการเจริญของดักแด้
ในปลาน้ำจืด PRL ควบคุมสมดุลย์ของเกลือและน้ำ
- Melanocyte
– stimulating hormone (MSH) ทำหน้าที่ควบคุมเซลล์ที่มีเม็ดสี (pigment
– containg cells) ที่ผิวหนังของสัตว์มีกระดูกสันหลังบางชนิด MSH ยังทำหน้าที่ใน fat metabolism ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอีกด้วย
- endorphins สร้างมาจาก pro-opiomelanocortin ซึ่งเป็นโปรตีนสายยาวแต่จะถูกตัดให้สั้นลง ที่ pituitary cells ได้เป็น ACTH, MSH และ endorphins endorphins ยังสร้างได้มาจากเซลล์ในสมองอีกด้วย endorphins จะทำหน้าที่ยับยั้งการรับความรู้สึกเจ็บปวด ยาเสพติดในกลุ่มพวก ฝิ่น (opiate) จะเป็นโมเลกุลที่เลียนแบบ (mimic)
endrophis ซึ่งจะไปจับที่ receptors ที่สมองยับยั้งการรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวด
3.2 Pineal gland กับ biorhythms
- pineal
gland เป็นก้อนเนื้อเยื่ออยู่ใกล้ศูนย์กลางของสมองคนเรา
-
pineal ขับฮอร์โมนชื่อ melatonin
(modified amino acid) ออกมา
-
pineal จะควบคุมเซลล์ที่ไวต่อแสง (light
– sensitive cells) หรือเซลล์ที่มีระบบประสาทเชื่อมอยู่กับตา
ขึ้นอยู่กับสปีชีส์ การควบคุมการสร้าง melatonin จาก pineal นั้นขึ้นอยู่กับแสงและฤดูกาลที่เปลี่ยนไป
- หน้าที่ของ pineal จะสัมพันธ์กับนาฬิกาชีวภาพ (biological
rythms) หรือ biolocal
clock) ในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ซึ่งมีผลต่อระบบการสืบพันธุ์ คือ
ทำให้เกิดกิจกรรมต่างๆ ในช่วงของวันและฤดูที่ต่างไป
3.3 Thyroid hormones กับการรักษาสมดุลย์และการพัฒนาการ
- ในคนเราและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ thyroid
gland อยู่ที่บริเวณคอ และมีอยู่ 2 lobes
- ต่อม thyroid ผลิต ฮอร์โมน 2 ชนิด ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สังเคราะห์จาก
กรดอะมิโน tyrosine ฮอร์โมนทั้ง 2 ชนิดนี้คือ
1) triiodothyronine (T3)
มี iodine อยู่ 3 อะตอม
2) thyroxine (T4 ) มี iodine 4 อะตอม
- การหลั่งของ thyroid hormones ควบคุมโดย hypothalamus และ pituitary แบบ negative feedback
-
thyroid gland มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาการ
ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง เช่น ในการพัฒนาการของลูกอ๊อดเป็นกบ
- โรคพันธุกรรมที่มีการสร้าง ฮอร์โมน thyroid น้อย ทำให้เกิด cretinism คือ จะมีการเจริญของกระดูกช้าและการพัฒนาของสมองช้า
-
thyroid hormones ช่วยรักษาสมดุลย์ของความดันเลือด ,อัตราการเต้นของหัวใจ, การทำงานของกล้ามเนื้อ, ระบบย่อยอาหารและการทำงานของระบบสืบพันธุ์
- hyperthyroidism = อุณหภูมิของร่างกายสูง , เหงื่อออกมาก ,น้ำหนักลด, คลั่นเนื้อคลั่นตัว
และมีความดันเลือดสูง
- hypothyroidism = มีอาการตรงข้ามกัน และทำให้เกิด cretinism
- goiter = โรคที่เกิดจากต่อม thyroid โต
เนื่องจากมีการสะสมเก็บ thyroid
hormones ไว้ในต่อม thyroid ไม่เพียงพอ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากขาดสารอาหาร iodine
-
thyroid gland เป็น endocrine
gland สร้าง calcitonin ซึ่งจะทำหน้าที่ลดระดับ calcium ในกระแสเลือด
3.4 Parathyroid
hormone กับ Calcitonin ช่วยในการรักษาสมดุลย์ของ calcium ในเลือด
- Parathyroid
glands ทำหน้าที่รักษาสมดุลของ calcium
ions โดยจะขับ parathyroid hormaone
(PTH) ออกมาทำให้ระดับ calcium ในกระแสเลือดสูงขึ้น โดยจะไปกระตุ้น การดูดกลับ ของ Ca2+ ที่ไต และโดยการเหนี่ยวนำให้เซลล์กระดูก ชนิดหนึ่งชื่อ osteoclastes ให้กระดูกถูกย่อยและปล่อย Ca2+ สู่กระแสเลือด
-
vitamin D สำคัญต่อการทำงานของ PTH
- ถ้าขาด PTH ทำให้ calcium ในเลือดลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการชักกระตุก
ถ้าปล่อยไปอาจทำให้ถึงตายได้ อาการแบบนี้เรียกว่า tetany
3.5 Pancreas สร้าง insulin กับ glucagon ซึ่งเป็น antagonistic hormones ที่คอยควบคุม glucose ในเลือด
- Pancreas ทำหน้าที่เป็นทั้ง endocrine และ exocrine
functions
ที่ pancreas 1-2
% ของ cells เป็น endocrine
cells ที่เหลือเป็น exocrine cells ที่สร้าง bicarbonate ions และ digestive
enzyme
-
endocrine cells ชื่อว่า islets
of Langerhans จะปะปนอยู่กับ exocrine
cells islets of Langerhans มี alpha
cells ที่ขับ peptide
hormone ชื่อว่า glucagon และ beta cells ที่ขับฮอร์โมน insulin
- ในคนเราระดับกลูโคสในเลือดจะอยู่ที่ 90 mg/100 ml
-
insulin กับ glucagon เป็น antagonistic
hormones ที่ควบคุมระดับกลูโคสในกระแสเลือด (insulin ทำให้ glucose ลด / ส่วน glucagons ทำให้ glucose ในกระแสเลือดเพิ่ม)
-
liver และ muscels เก็บน้ำตาลไว้ในรูปของ glycogen
-
adipose tissue cells เปลี่ยน sugars ให้เป็นไขมัน
-
diabetes mellitus (Diabetes ,Gr = copious
urination และ mellitus , Gr=
honey) เกิดจากการขาด isulin หรือเซลล์เป้าหมายไม่ตอบสนองต่อฮอร์โมน insulin ทำให้มีระดับของกลูโคสในกระแสเลือดสูง ยิ่งกลูโคสในเลือดสูงก็ทำให้ เพิ่มน้ำที่ขับกลูโคสออกมามากตามไปทำให้มีปริมาณปัสสาวะมากและกระหาย บ่อยๆ
- type
I diabetes mellitus (insulin-dependent diabetes) เป็น autoimmune disorder ซึ่งทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของเราโจมตี cells ที่ pancreas ทำให้ไม่สามารถสร้าง insulin ได้ มักจะเกิดขึ้นในวัยเด็ก
สามารถรักษาโดยฉีด insulin ทดแทน
- type
II diabetes mellitus (non-insulin –dependent
diabetes) เกิดจากการขาด insulin หรือที่พบมากคือ target cells ที่มี insulin
receptors ไม่ตอบสนองต่อ insulin ซึ่งเกิดตามอายุที่เพิ่มขึ้น มักเกิดขึ้นเมื่อคนเรามีอายุมากกว่า 40 ปี สามารถรักษาได้โดยการออกกำลังกายมากๆ
และควบคุมการทานอาหาร
3.6 Adrenal medulla กับ adrenal cortex กับการจัดการความเครียด(stress)
- adrenal
glands = ต่อมหมวกไต ประกอบด้วย adrenal
cortex และ adrenal medulla
(central part)
- ส่วน adrenal medulla มีการพัฒนาและหน้าที่สัมพันธ์กับระบบประสาท secretory
cells ของ adrenal
medulla นั้นพัฒนามาจาก neural
crest cells
- epinephrine
(or adrenaline) และ norepinephrine (or
noradrenaline) เป็น hormones ที่ขับมาจาก adrenal medulla ฮอร์โมนทั้ง 2 ชนิดนี้จัดอยู่ในสารประกอบพวก catecholamine ซึ่งสังเคราะห์มาจากกรดอะมิโน tyrosine
-
apinephrine , norepinephrine และ catecholamines ชนิดอื่นๆ จะถูกขับออกมาเพื่อตอบสนองกับ positive และ negative stress ทำให้เรามีอัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น
เหงื่อออก หรือทำให้เรารู้สึกตื่นเต้น
-
epinephrine กับ norepinephrine ทำให้ glycogen ที่ตับถูกย่อยให้เป็น glucose แล้วปล่อยเข้าสู่กระแสเลือด นอกจากนี้แล้วฮอร์โมนทั้ง 2 ตัวยังทำให้ fatty acid ปลดปล่อยออกมาจาก fat
cells
-
epinephrine กับ norepinephrine ยังทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น และทำให้ท่อหลอดลม bronchioles ในปอดขยายขึ้น ทำให้ O2 มีการส่งสู่เซลล์ ในร่างกายมากขึ้น (หมอจึงจ่ายยา epinephrine กับคนที่เป็นหืดหอบ)
- เมื่อ nerve cells ถูกกระตุ้นจากความเครียด
เซลล์จะปล่อย neurotransmitter acetylcholine ใน adrenal medulla acetylcholine นี้จะจับกับ receptors ของ cells ที่ adrenal medulla แล้วกระตุ้นการปล่อย epinephrine กับ norepinephrine
-
adrenal cortex ทำหน้าที่สัมพันธ์กับความเครียดเช่นกัน
แต่จะตอบสนองต่อ endocrine signals
- เมื่อสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดความเครียดทำให้ hypothalamus ขับ ฮอร์โมนออกมาไปกระตุ้น anterior
pituitary ให้ปล่อย ACTH เข้าสู่กระแสเลือด acth จะไปกระตุ้นเซลล์ที่ adrenal
cortex ให้สร้างและขับ steroid ชื่อว่า corticosteroids
- corticosteroids ในคนเรามี 2 ชนิดหลักๆคือ 1)
glucocorticoids เช่น cortisol 2)
mineralocorticoids เช่น aldosterone
- glucocorticoids ทำให้เกิดการสังเคราะห์ glucose จากแหล่ง noncarbohydrate sources เช่น proteins และทำให้เกิดการแตกตัวของ muscel proteins ที่ skeletal muscel ซึ่งจะถูกขนส่งไปยัง
ตับและไต ซึ่งเป็นที่ที่โปรตีนนี้ถูกเปลี่ยนเป็น glucose นอกจากนี้แล้ว glucocorticcids เช่น cortisone เคยใช้เป็นยารักษา inflammatory conditions เช่น ข้ออักเสบ
แต่ผลในระยะยาวจะทำให้สารนี้ไปลดระบบภูมิคุ้มกันทำให้ร่างกายอ่อนแอ
- mineralocorticoids ควบคุมความสมดุลย์ของเกลือและน้ำในร่างกายเราเช่น aldosterone จะกระตุ้นการดูด sodium ions และน้ำกลับที่ไตนอกจากนี้แล้ว mineralocorticoids ยังทำให้ความดันเลือดและปริมาณของเลือดในกระแสเลือดเพิ่มขึ้นด้วย
3.7 Gonadal
steroids ฮอร์โมนเพศ
- gonads สร้างฮอร์โมนหลักๆ 3 ชนิด
คือ 1) androgens 2) estrogens 3)
progestins (ดูรูปที่ 45.14) ฮอร์โมนทั้ง 3 ชนิดนี้พบทั้งในผู้ชายและผู้หญิง แต่สัดส่วนปริมาณไม่เท่ากัน
- testes สร้าง androgens ตัวหลักคือ testosterone
androgens จะช่วยในการพัฒนาและเสริมสร้าง male
reproductive system และในช่วงสืบพันธุ์จะมีความเข้มข้นของ androgens สูง ทำให้มีการพัฒนาของ sex characteristics ในเพศชายคือ มีขนและเสียงต่ำ
- ในกลุ่ม estrogens ฮอร์โมนที่สำคัญคือ estradiol ซึ่งมีหน้าที่คล้ายๆกับ androgens แต่จะเป็นในเพศหญิง
ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมฮอร์โมน progestins (ซึ่งรวมถึง progesterone ด้วย) จะทำหน้าที่ในการเสริมสร้างท่อรังไข่ (uterus) เพื่อรองรับการเจริญและพัฒนาของไข่ที่ผสมแล้ว
- การสังเคราะห์ของ estrogens และ androgens นั้นถูกควบคุมด้วย gonadotropins ซึ่งคือ FSH และ LH จากต่อม anterior pituitary และการควบคุมการขับ FSH และ LH จะถูกควบคุมด้วย GnRH (gonadotropin
releasing hormone) จาก hypothalamus
_______________________________________
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น