วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558

กลไกรับความรู้สึก และการเคลื่อนที่ (Sensory and Motor Mechanisms)

กลไกรับความรู้สึกและการเคลื่อนที่ (Sensory and Motor Mechanisms)

     1.  บทนำการรับรู้ความรู้สึก (Introduction to sensory reception)

·                ความสามารถในการแยกแยะชนิดของสัญญาณกระตุ้น (stimulus) เช่น การเห็นภาพและเสียงนั้นขึ้นอยู่กับสมองส่วนไหนของเรานั้นได้รับสัญญาณ (signal) นั้น ๆ นั่นคือ สำคัญก็คือ บริเวณที่ที่สัญญาณนั้น ๆ ไป ไม่ใช้ตัวสัญญาณเอง
·              Sensation = การรับสัญญาณ
·              Perception = การรับรู้ (สมองแปลสัญญาณที่เข้ามาทำให้รู้ว่าสัญญาณนั้นคืออะไร เช่น สี กลิ่น เสียง และรส

1.1   เซลล์ประสาทรับพลังงานของสัญญาณกระตุ้นส่งต่อสัญญาณไปยังระบบประสาท 
·    Sensory receptor = เซลล์ประสาทพิเศษ หรือเซลล์ที่อยู่เป็นเซลล์เดี่ยว ๆ หรืออยู่เป็นกลุ่มกับเซลล์อื่น ๆ ที่อวัยวะรับความรู้สึกซึ่งได้แก่ ตา และ หู
·       Exteroreceptors = เป็นเซลล์ที่คอยตรวจจับสัญญาณจากภายนอกร่างกายเรา เช่น ความร้อน แสง ความดัน และสารเคมี
·       interoreceptors = เป็นเซลล์ที่คอยตรวจจับสัญญาณภายในร่างกายเรา เช่น ความดันเลือด และตำแหน่งของร่างกายเรา
·    สัญญาณกระตุ้น (stimuli) เป็นรูปแบบของพลังงานอย่างหนึ่ง และหน้าที่ของเซลล์รับสัญญาณ (receptor cells) ก็คือ เปลี่ยนพลังงานของสัญญาณกระตุ้นให้เป็น membrane potential (การเปลี่ยนแปลงกระแสสัญญาณไฟฟ้า (voltage) ที่ membrane ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความเข้มข้นหรือความแรงของสัญญาณกระตุ้น) แล้วส่งต่อสัญญาณนี้ไปยังระบบประสาท (nervous system) ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้ประกอบด้วยการทำงาน 4 ประเภท คือ
1.       Sensory transduction
2.       Amplification
3.       Transmission
4.       Integration


1.1.1  Sensory transduction
·   Sensory transduction  คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงพลังงานของสัญญาณกระตุ้น (stimulus energy potential) ที่ receptor cell
·       Receptor potential คือ การเปลี่ยนแปลง Membrane potential ที่ receptor cells
·    ยกตัวอย่าง อย่างกรณีที่สัญญาณกระตุ้นที่เป็นแรงกดจะทำให้ membrane ยืดตัวและทำให้เกิดการเพิ่มการไหลของไอออน (increase ion flow)
1.1.2  Amplification
·    Amplification คือ การเพิ่มสัญญาณกระตุ้นที่มีสัญญาณอ่อน ให้มีพลังงานมากขึ้น เช่น คลื่นเสียงที่เราได้ยินนั้นจริง ๆ แล้วถูก amplify มากกว่า 20 เท่า ก่อนจะเข้าถึง receptors ในหูชั้นใน (inner ear)
1.1.3  Transmission
·    Transmission คือ การส่งสัญญาณที่เซลล์รับสัญญาณ (receptor potential) ต่อไปยังระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system or CNS)
1.1.4  Integration
·       Integration = the processing of information = การประมวลข้อมูล
·    ยกตัวอย่างกระบวนการการประมวลข้อมูลของเซลล์รับสัญญาณชนิดหนึ่งเรียกว่า กระบวนการ sensory adaptation ซึ่งคือ การลดการตอบสนองของสัญญาณการกระตุ้นที่เข้ามา หรือได้รับอย่างต่อเนื่อง ถ้าไม่มี sensory adaptation เราทุกคนจะได้รู้สึกถึง ทุก ๆ จังหวะของหัวใจเราที่เต้น และรู้สึกถึงทุกสัมผัสของเสื้อผ้า เราเมื่อเสื้อผ้าที่เราสวมใส่นั้นสัมผัสกับผิวหนังเรา
·    การประมวลข้อมูลการรับสัญญาณ (Sensory integration) ยังเกี่ยวข้องกับความไว (sensitivity) ของการรับรู้ อย่างเช่น การรับรู้ของ Glucose receptors ที่ปากของเรา สามารถรับรู้ความหวานของน้ำตาลขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำตาลที่เราทานเข้าไปและลักษณะของอาหารนั้น ๆ


1.2   เซลล์รับสัญญาณประสาทแบ่งได้ตามพลังงานที่เซลล์นั้นๆรับส่ง
·       Sensory receptors มี 5 ชนิด คือ
1.     Mechanoreceptors
2.     Pain receptors
3.     Thermoreceptors
4.     Chemoreceptors (gustatory (taste) and olfactory (small) receptors)
5.   Electromagnetic receptors (detect electromagnetic energy เช่น แสงไฟฟ้า และแม่เหล็ก (เช่น photoraceptors)

2.  เซลล์รับแสง (Photoreceptors)

·       การตรวจจับแสงมีการวิวัฒน์ในอาณาจักรสัตว์
·       Photoreceptors ประกอบด้วยโมเลกุลสี (pigment molecules) ที่คอยดุดซับ (absorb) แสงตรวจจับแสงที่มีการพัฒนาในอาณาจักรสัตว์

2.1  ความหลากหลายของเซลล์รับแสงมีการวิวัฒน์ในหมู่สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
·    พลานาเรีย(planaria) มีเซลล์รับแสง (photoreceptor cells) อย่างง่าย เป็น eye cup ซึ่งทำหน้าที่เป็นเพียงวัดความเข้มข้นขอแสง (light intensity) และทิศทางของแสงเท่านั้น(ไม่มีภาพ) (รูปที่ 4)และพลานาเรีย จะเคลื่อนที่หนีแสงโดยวัดความเข้มขอแสงที่มากระทบกับตาทั้ง 2 ข้าง เพื่อหาทิศทางที่แสงมากระทบ กับตาทั้ง 2 ข้าง เท่า ๆ กัน แล้วเคลื่อนที่หนีไปตามทิศทางนั้น
·       ดวงตาภาพที่สร้างรูปได้มีการวิวัฒน์ในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง (แมลงที่จะเลี้ยงลูกด้วยนม)
·    Compound eyes พบในแมลงและสัตว์ที่มีเปลือกหุ้มแข็ง(crustaceans) compound eyes ประกอบด้วย light detectors เรียกว่า ommatidia ซึ่งแต่ละอันจะมีเลนส์รวมแสง (light-focusing len) เป็นของตัวเอง 
·    ตาของคนเราสามารถแยกแยะแสงกระพริบ (light flashes) ได้ประมาณ 50 Flashes ต่อ 1 วินาที (ภาพยนตร์ >50 flashes ต่อวินาที) ผึ้งสามารถมองเห็น UVspectrum ได้
·    Single-lens eyes พบใน แมงกะพรุน ปลาหมึก แมงมุม mollusks ซึ่ง single-lens eyes ทำงานในลักษณะเดียวกับกล้องถ่ายรูป

2.2  สัตว์มีกระดูกสันหลังมีตาแบบเลนส์เดียว (Vertebrates have single-lens eyes)
·       สัตว์มีกระดูกสันหลังมีตาเป็นแบบ single-lens eyes 
·       ลูกตา (eye ball) ของสัตว์มีกระดูกสันหลังประกอบด้วย
1.       Sclera =  ผนังของ connective tissue หนาชั้นนอก
2.       Choroid  =  ผนังชั้นต่อมาของ eye ball รองมาจาก sclera เป็นชั้นที่มี pigment อยู่
3.       Conjunctiva =  เป็น epithelial cells ที่ปกคลุม sclera ช่วยรักษาความชุ่มชื้น (moist) ของตา
4.       Cornea =sclera ที่ใสอยู่ด้านหน้าของลูกตา ทำหน้าที่เป็นเสมือน lens ในส่วนนี้ไม่มี conjuncitva
5.       Iris =choroid ส่วนหน้าของลูกตาที่ฟอร์มเป็นรูปโดนัท (ส่วนที่เห็นเป็นสีของตา) หดขยายปรับรับแสงได้
6.       Pupil = รู (hole) ตรงกลาง iris
7.    Retina = ผนังชั้นในสุดถัดมาจาก choroid ประกอบด้วย photoreceptor cells ข้อมูลภาพและแสงออกจาก photoreceptors ผ่าน optic disc ซึ่งเป็นบริเวณที่มี optic nerve มายึดติดอยู่เนื่องจากบริเวณ optic disc ที่มี optic nerves มาเกาะติดตั้งจะไม่มี photoreceptors จึงเรียกบริเวณนี้ว่า blind spot ซึ่งไม่สามารถ detect แสงได้

8.    Lens และ ciliary body = เป็นส่วนที่ทำให้ลูกตาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ช่องว่าง ส่วนหน้าที่อยู่ระหว่าง lens และ cornea และช่องว่างส่วนที่อยู่หลัง lens ทั้งหมดของลูกตา ciliary body สร้างน้ำใส ๆ ชื่อว่า aqueous humor ออกมาที่ช่องว่างส่วนหน้า ในส่วนช่องว่างส่วนหลังจะมีสารเจลเรียกว่า vitreous humor ซึ่งเป็นเสมือน liquid lenses ช่วยรวมแสงสู่ retina การ focus ภาพนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเล็นส์ (lens) เมื่อวัตถุอยู่ไกลเล็นส์ จะแบนและวัตถุอยู่ใกล้เล็นส์จะเป็นรูปกลม การเปลี่ยนรูปทรงนี้เรียกว่า accommodation 

·    ที่ retina ของคนเราประกอบด้วย เซลล์รูปแท่ง (rod cells) ประมาณ 125 ล้านเซลล์ และเซลล์รูปโคน (cone cells) ประมาณ 6 ล้านเซลล์
·    Rods จะมีความไวแต่แสง แต่ไม่สามารถแยกแยะสีได้ cones จะไม่ทำงานในที่มืด แต่จะสามารถแยกแยะสีได้ในที่ที่มีแสงเท่านั้น
·       พบว่าที่ตาของคนเรา มี rods อยู่มากบริเวณรอบนอกของ retina ยกเว้นบริเวณ fovea

2.3  เม็ดสีที่ดูดซับแสงชื่อ rhodopsin ทำงานผ่านสัญญาณเหนี่ยวนำ
·    Rod cell และ cone cell มีส่วนที่เป็น outer segment ซึ่งประกอบด้วย โครงสร้างรูป discs เรียงซ้อนกันอยู่ ในแต่ละ disc นี้จะประกอบด้วยโมเลกุลที่ใช้ในการดูดกลืนแสง (light-absorbing pigment molecule) เรียกว่า retinal (เป็น Vitamin A derivative) ติดอยู่กับ membrane protein ชื่อ opsin
·       Rods มี opsin ชนิดหนึ่งบกกับ retinal ได้เป็น rhodopsin 
·       Retinal มี 2 รูป คือ cis และ trans retinal
·       การมองเห็นสีเกิดจากการใช้ cones 3ชนิด คือ red, green และ blue cones ซึ่งจะดูดกลืนสีได้ต่าง ๆ กันตามชื่อของ cones


2.4  ม่านตา (retina) ช่วยเปลือกสมอง (cerebral cortex) ในการประมวลผลข้อมูลภาพ
·    ส่วน axons ของ rods และ cones จะเชื่อมช่องต่อ (synapse) กับ เซลล์ประสาท (neurons) ชื่อ bipolar cells ซึ่งจะต่ออยู่กับ ganglion cells 
·    นอกจากนี้ แล้วเซลล์ประสาทที่ retina ยังมี horizontal cells และ amacrine cells ซึ่งจะช่วย integrate ข้อมูลสัญญาณก่อนที่จะส่งต่อไปยังสมองผ่าน optic nerve
·    Optic nerve จะมีการฟอร์มเป็น optic chiasm บริเวณกลางล่างของสมองส่วน cerebral cortex เพื่อให้ภาพจากตาข้างขวาถูกส่งไปที่สมองด้านซ้าย และภาพจากตาข้างซ้ายถูกส่งไปที่สองด้านขวา 
·    นักวิทยาศาสตร์คาดเดาว่า มีเซลล์ประสาท ถึง 100 ล้านเซลล์ ในการ process ทำให้เห็นภาพ ๆ หนึ่ง และการศึกษาว่าการเกิดภาพต่าง ๆ เหล่านี้ก็ยังอยู่ในขั้นตอนการวิจัยอยู่


3.  การได้ยินและความสมดุล (Hearing and equilibrium)
3.1  อวัยวะได้ยินของเลี้ยงลูกด้วยนมอยู่ในหูชั้นใน
·       หูของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสามารถแยกได้เป็น 3 ส่วนคือ
1.    Outer ear มีช่องหู (auditory canal)ส่งคลื่นเสียงไปที่ trympanic membrane (eardrum) ซึ่งเป็นแผ่นปิดแยกหูชั้นนอกกับชั้นกลาง
2.    Middle ear คลื่นเสียงจะถูกส่งผ่านกระดูกเล็ก ๆ (ossicles)3 ชิ้น คือ malleus chammer), Incus canvil) และ stapes (stirrup) และสุดท้ายคลื่นเสียงจะถูกส่งไปที่ oval window ซึ่งเป็นเมมเบรน ใต้ stapes  และ middle ear ยังต่อกับ Eustachian tube ซึ่งเป็นท่อต่อกับ pharynx เพื่อไว้ปรับความดัน
3.    Inner ear ประกอบด้วย cochlea (Latin=snail) Cochlear ประกอบด้วย vestibular , tympanic duct มี ของเหลว edolymph อยู่ ที่พื้นของ cochlear เรียกว่า basilar membrane มีอวัยวะเรียกว่า organ of Corti ซึ่งจะมี receptor cells อยู่เป็น hair cells ต่อกับ auditory nerve ซึ่ง hair cells นี้ จะสัมผัสอยู่กับ tectorial membrane
· คลื่นเสียงเข้ามากระทบ tympanic membrane --> สั่น (Vibrate) ด้วยความถี่เดียวกับเสียง --> malleus, incus และ stapes --> คลื่นเสียงจะถูกส่งไปที่  oval window -->ไป  pressure waves in the fluid --> vestibular canal --> tympanic canal --> strikes --> round window -->แล้วคลื่นเสียงจะหายไป 
· Pressure waves ทำให้ vestibular canal หดและคลาย --> basilar membrane -->สั่น -->hair cells เลื่อนขึ้นลง --> neurotransmitter ถูกปล่อยออกมา -->ส่งสัญญาณไป auditory nerve
· แต่ละส่วนของ basilar membrane จะตอบสนองต่อเสียงที่มีคลื่นความถี่ต่างกัน



3.2    นอกจากนี้หูชั้นในยังมีอวัยวะของสมดุล
·       ด้านหลัง oval window มีส่วนที่เรียกว่า vestibule ซึ่งประกอบด้วย ห้องส่วนที่เรียกว่า utricle และ saccule
·       Utricle แบ่งเป็น 3 semicircular  cannals 
                          
·       Hair cells ใน utricle และ saccule ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตำแหน่งของศีรษะเรา
·       Hair cells นั้นจะชี้ขึ้นไปในสารละลายคล้าย ๆ เจล ซึ่งเป็น calcium carbonate particles เรียกว่า otoliths (ear stones)
·    เมื่อเราอยู่ท่าในมุมต่าง ๆ --> hair cells ก็จะอยู่ในท่าและมุมต่าง ๆ ด้วย --> ทำให้เกิด neurotransmitter --> สมองแปลข้อมูล

4.  รสชาติและกลิ่น (Chemoreception – taste and smell)

·       การรับรู้กลิ่นและรสขึ้นอยู่กับ chemoreceptors
·       แมลงรับรู้รสจาก tasting hair ที่ขาและปาก ซึ่ง hair นี้จะมี chemoreceptor cells อยู่
·       คนเรามี receptor cells ซึ่งเป็น modified epithelial cells ซึ่งจับกลุ่มกันเป็น taste buds อยู่ที่ลิ้นและในปาก
·       การรับรู้รสมี 4 แบบ คือ หวาน sweet, เปรี้ยว sour, เค็ม salty และ ขม bitter
·    การรับรสขึ้นอยู่กับโครงสร้างของโมเลกุลที่เรารับรู้รส เช่นน้ำตาลหวาน--> glucose โมเลกุลเป็นวงแหวน 6 เหลี่ยมและเติมเกลือเป็น Na ซึ่งจะจับกับ receptor cells ที่เฉพาะ
·    การรับรู้กลิ่น ก็ทำงานในลักษณะเดียวกัน คือ โมเลกุลของกลิ่น แต่ละกลิ่นก็จะจับกับ receptor molecules ที่ plasma membrane ของ chemoreceptor cells ต่างกัน --> ทำให้เกิด action potentials -->เซลล์ประสาทที่ olfactory bulb -->ส่งสัญญาณไปที่สมอง
                          
_____________________________________________________________

วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558

การสืบพันธุ์ของสัตว์ (ระบสืบพันธุ์) (ANIMAL REPRODUCTION)

การสืบพันธุ์ของสัตว์ (ระบสืบพันธุ์) (ANIMAL REPRODUCTION)

1.  การสืบพันธุ์ของสัตว์ (Animal Reproduction)

      การสืบพันธุ์ของสัตว์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

      1.1  ประเภทของการสืบพันธุ์
·       การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (Asexual reproduction)
เป็นการสืบพันธุ์ที่สร้างลูกหลานขึ้นมา ใหม่ โดยไม่ต้องอาศัยเซลล์สืบพันธุ์ก็คือ ไข่ และตัวอสุจิ การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศใช้ขบวนการ Mitotic cell division  จึงได้รับการถ่ายทอด ลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อ-แม่โดยตรง
·       การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (Sexual reproduction)
เป็นการสืบพันธุ์ที่สร้างลูก หลานขึ้นมาใหม่ โดยเพศผุ้และเพศเมียมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ที่มีโครโมโซมเพียงชุดเดียวมารวมกัน เกิดเป็นตัวอ่อน (Zygote) ที่มีโครโมโซม 2 ชุด เซลล์สืบพันธุ์จะมีการแบ่งตัวแบบMeiosis เซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย ก็คือ ไข่ มีลักษณะ ค่อนขางใหญ่ และเคลื่อนที่ไม่ได้ ส่วนเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ก็คือ ตัวอสุจิ มีลักษณะ เล็ก และเคลื่อนที่ได้

      1.2  ชนิดของการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ
      การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศแบ่งออกได้เป็นหลายชนิด คือ
·                 การแบ่งตัว (Fission)
      การสืบพันธุ์ไม่อาศัยเพศโดยวิธีการ การแบ่งตัวเป็นลักษณะการสร้างลูกหลานขึ้นมารใหม่ โดยการแบ่งตัวออกเป็น 2 ส่วน เท่า ๆ กัน มีลักษณะและขนาดเหมือนกัน ซึ่งการสืบพันธุ์แบบนี้จะเกิดกับสัตว์เซลล์เดียว เช่น พวก แบคทีเรีย, อมีบา, พารามีเซียม เป็นต้น
·                 การแตกหน่อ (Budding)
      การแตกหน่อเป็นการสร้างลูก หลานขึ้นมาใหม่ โดยการสร้างหน่อยื่นออกไปจากลำตัวพ่อ-แม่ จากนั้นหน่อก็จะหลุดออกมาจากตัวเดิม และเจริญกลายเป็นตัวใหม่ เช่น ฟองน้ำ, cidarians, tunicates  เป็นต้น

·                 การที่ปล้องหลุดออกจากลำตัว (Fragmentation)
เกิดจากร่างกายที่เป็นสายยาว หรือลำตัวยาว ๆ หักหรือขาดออกเป็นท่อน ๆ แล้วแต่ละส่วนก็จะหลุดออกไป และเจริญเติบโตเป็นสิ่งมีชีวิตใหม่ เช่น พวกหนอนตัวแบน
·                 การงอกใหม่ (Regeneration)
เป็นการสืบพันธุ์ที่คล้าย ๆ กับ Fragmentation คือ การที่สิ่งมีชีวิตสามารรถสร้างตัวเอง ได้จากส่วนที่หลุดหรือขาดออกจากร่างกายของสิ่งมีชีวิตนั้น แต่ส่วนที่หลุดหรือขาดออกมานั้น เกิดจะเจริญขึ้นเป็นปลาดาวตัวเล็ก ๆ ได้ เนื่องจากวีนี้เป็นการเพิ่มจำนวนของสัตว์ จึงถือว่าเป็นการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศชนิดหนึ่ง

      1.3  วงจรการสืบพันธุ์
                      สัตว์ส่วนใหญ่จะมีวงจรการสืบพันธุ์แบบจำกัด ซึ่งมักจะขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล เช่น Ewas (แกะเพศเมีย) จะมีวงจรการสืบพันธุ์ภายในระยะเวลา 15 วัน และจะตกไข่ในช่วงกลางของวงจร วงจรนี้จะเกิดขึ้นในช่วงของฤดูใบไม้ร่วง และจะสิ้นสุดในช่วงฤดูหนาว ดังนั้นแกะหลายชนิด มักจะเกิดในช่วงตลอดปลายของฤดูหนาว หรือ ฤดูใบไม้ผลิ การดำรงชีวิตของสัตว์ ส่วนใหญ่นั้นมักจะขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ เช่น อุณหภูมิ ฤดูกาล ความยาวนานของช่วงเวลา และจันทรคติ ซึ่งการสืบพันธุ์จะเกิดขึ้น ในช่วงระยะเวลาที่คงที่ในแต่ละปี
                      สัตว์อาจมีการสืบพันธ์ แบบอาศัยเพศ และไม่อาศัยเพศ หรือบางทีอาจจะมีทั้ง 2 แบบ ก็ได้ อย่างเช่น Daphnia จะเป็นเพศเมีย สามารถผลิตไข่ได้ 2 ชนิด ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม เช่น ระยะเวลาที่ของไข่ชนิดหนึ่งถูกผสม และอีกชนิดหนึ่งจะพัฒนาโดยวิธีการ พาธีนีนีซิส(Parthenogenesis) คือ กระบวนการที่ไข่มีการพัฒนาเจริญเป็นตัวอ่อน โดยไข่ไม่ได้รับการปฏิสนธิ และเมื่อโตขึ้นก็จะเป็นหมัน ในกรณีของบ Daphnia ได้เกิดจากการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
                      การสืบพันธุ์แบบ พาธีโนจีนีซิส (Parthenogenesis) พบได้ในสัตว์จำพวก ผึ้ง ต่อ แตน และมด เป็นต้น อย่างเช่นในผึ้งนี้พบว่า ไข่ที่ไม่ได้ถูกการปฏิสนธิจะเจริญไปเป็นตัวผู้ (Drone) ในทางตรงกันข้าม ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิจะเจริญไปเป็น ตัวเมีย ซึ่งจะเจริญไปเป็น นางพญาผึ้ง (Queen) หรือผึ้งงาน (Worker)
                      ในการสืบพันธุ์ของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ปลาบางชนิด สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และสัตว์ประเภทเลื้อยคลาน มักจะสืบพันธุ์แบบผสมผสาน เช่น Whiptail lizards เนื่องจากสัตว์ใน Species นี้ไม่มีตัวผู้จึงต้องเลียนแบบพฤติกรรมเกี่ยวกับเพศผู้ ในรูปที่ 1 ในระหว่างที่มีการผสมพันธุ์ตามฤดูกาล จะมีตัวหนึ่งที่เป็นเพศเมีย และอีกตัวหนึ่งทำหน้าที่เป็นเพศผู้ และจ้ะเปลี่ยนการทำหน้าที่เป็นเพศผู้ 2-3  ครั้ง ต่อ 1 ฤดูกาล   ในการผสมพันธุ์  พฤติกรรมของเพศเมียจะเกิดขึ้นเมื่อฮอร์โมนของเพศเมีย คือ estrogen สูงขึ้น ก่อนที่ไข่ตก และพฤติกรรมของเพศชายจะเกิดขึ้นหลังจากที่ไข่ตกเมื่อระดับฮอร์โมน estrogen ลดลง
                      สำหรับการสืบพันธุ์ในรูปแบบอื่น ๆ ก็จะมีที่สำคัญคือ Sequential hermapohroditism ซึ่งเป็นการแปลงเพศ ของตัวเองในแต่ละช่วงของชีวิตออกเป็น 2 เพศ เช่น ในสัตว์บางชนิด จะเป็นแบบ protogynous คือ เป็นเพศเมียก่อน ในบางชนิดอาจจะเป็นแบบ protandrous คือ เป็นตัวผู้ก่อน และในปลาบางชนิด การที่จะเป็นเพศผู้ก่อน หรือเพศเมียก่อนขึ้นอยู่กับขนาดของลำตัว และอายุ เช่น ปลา Caribbean bluehead wrasse ในปลา Caribbean bluehead wrasse  เกิดมาเป็นเพศเมียก่อน และสามารถเปลี่ยนเพศได้เมื่ออายุมากขึ่น



2.  กลไกของการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (Mechanisms of Sexual Reproduction)

                      2.1  ประเภทของการปฏิสนธิ
                                กลไกของการปฏิสนธิ ก็คือ การรวมตัวกันของ ตัวอสุจิ และไข่ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญในการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
                                การปฏิสนธิสามารถแบ้งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
·    การปฏิสนธิภายนอก (External Fertilization) คือ การที่เพศเมียจะตกไข่ภายนอก และถูกปฏิสนธิโดยเพศผู้ โดยจะมีการปฏิสนธิข้างนอกโดยอาศัยสิ่งแวดล้อม พบได้ในสัตว์น้ำจำพวกปลาและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ  


·    การปฏิสนธิภายใน (Internal Fertilization) คือ การที่ตัวอสุจิเข้าไปผสมกับไข่ในอวัยวะสืบพันธุ์เพศเมีย พบได้ในสัตว์น้ำ สัตว์บก ทั้งสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง และไม่มีกระดูกสันหลัง
                      สัตว์ที่มีการปฏิสนธิภายใน มักจะผลิตไข่ออกมาในปริมาณเล็กน้อย และจะมีคุณภาพมากกว่าการปฏิสนธิภายนอก สัตว์ที่มีการปฏิสนธิภายนอก เช่น ปลาบางชนิด สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ นั้น จะมีการผลิตไข่ออกมาจำนวนมาก เช่น ไข่ของหอย จะมีการปฏิสนธิข้างนอก และเพศเมียจะเป็นผู้ดูแลไข่
                      สัตว์ปีกจำนวนหลายชนิด จะออกไข่ออกมาให้เหมาะกับสภาพแวดล้อม เช่น นก จะมีการออกไข่ออกมาโดยมีเปลือกไข่ที่เป็น แคลเซียม และมี protein shells มาห่อหุ้มไข่แดงอีกที หนึ่ง เพื่อป้องกันการถูกทำลาย แต่ถ้าเป็นไข่ของปลา และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ก็จะมีเพียงสารเจลาติน (gelatin) มาห่อหุ้มเท่านั้น ส่วนสัตว์จำพวก จิงโจ้ และ Opossums จะเก็บตัวอ่อนไว้ที่ถุงหน้าท้อง ของมันและก็จะคอยดูแลลูกของมัน

                      2.2  ระบบของการสืบพันธุ์แบบผสม
                                ระบบของการสืบพันธุ์แบบผสม พบมากในสัตว์ Phylum Platyhelminthes เช่น หนอนตัวแบนที่มี 2 เพศ ในตัวเดียวกัน    สัตว์ที่มีการสืบพันธุ์แบบผสมนั้น จะมีอวัยวะหนึ่งที่ทำหน้าที่ในการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ทั้งเพศผู้ และเพศเมียในอวัยวะเดียวกัน                      
                      แมลงส่วนใหญ่จะมีการแบ่งเพศ จาระบบสืบพันธุ์แบบผสมผสานในตัวผู้ ตัวอ่อนจะเจริญและพัฒนาจากคู่ทดสอบ และการควบคุมท่อ 2 ท่อ ในช่องของร่างกาย (Coelom) ระหว่างในการจับคู่ตัวอ่อน จะเข้าไปอยู่ในระบบสืบพันธ์ของเพศเมีย ในเพศเมียไข่จะเจริญเป็นคู่ ๆ และท่อนั้นจะถูกควบคุมโดย Vagina (ช่องผสมพันธุ์) ในแมลงหลายชนิดที่เป็นเพศเมีย จะมีระบบที่เรียกว่า Spermatheca ซึ่งตัวอ่อนจะฝังตัวอยู่โดยใช้เวลา 1 ปี หรืออาจจะมากกว่านั้น

                       ในผึ้งตัวผู้  - ตัวอสุจิจากอัณฑะจะวิ่งผ่านที่ออสุจิ และฝังตัวอยู่ใน Seminal vesicle   ผึ้งตัวผู้จะหลั่งอสุจิจาก Accessory glands         ผึ้งตัวเมีย  ไข่ที่เจริญเติบโตในรังไข่ จะไหลไปตามท่อ และไปยัง Vagina (ช่องผสมพันธุ์) หลังจากผสมพันธุ์แล้ว ตัวอ่อนจะอยู่ใน Spermatheca ซึ่งจะเป็นถุงที่เชื่อมต่อระหว่าง ช่องผสมพันธุ์ โดยอาศัยท่อสั้น ๆ


3.  การสืบพันธุ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (Mammalian Reproduction)

                      3.1  ระบบสืบพันธุ์ของเพศชาย
                                ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม รวมทั้งมนุษย์ส่วนใหญ่ อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของเพศชาย ก็คือ Scrotum(ถุงอัณฑะ) และ Penis(องคชาติ) ส่วนอวัยวะสืบพันธุ์ภายในของของเพศชายก็คือ Gonads (ลูกอัณฑะ) ซึ่งมีหน้าที่ในการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ และฮอร์โมนและ Accessory glands จะมีหน้าที่ในการหลั่งสารที่ในการหลั่งสารที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในการเคลื่อนที่ของ Sperm
                      ลูกอัณฑะ ภายในจะประกอบด้วยเนื้อเยื่อจำนวนมาก และหอลดสร้างตัวอสุจิ คือ Seminiferous tubules ระหว่าง Seminiferous tubules จะมีกลุ่มเซลล์ที่เรียกว่า Leydig cells ซึ่งเซลล์นี้จะทำหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนเพศชาย คือ Testosterone (เทสโทสเตอโรน) และ Androgens (แอนโดเจน)
                      ตัวอสุจิไม่สามารถจะเกิดขึ้นในอุณหภูมิร่างกายของคนทั่วไปได้ ลูกอัณฑะของมนุษย์ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น จะอยู่ภายนอกเชิงกรานยึดติดอยู่กับผนังของร่างกาย อุณหภูมิภายในถุงอัณฑะ (Scortum) จะประมาณ 2 องศาเซลเซียส ต่ำกว่าอุณหภูมิทั่วไป ในหนู ลูกอัณฑะ สามารถกลับเข้าไปอยู่ในอุ้งเชิงกรานได้ และอสุจิจะถูกเก็บไว้ข้างใน เพื่อป้องกันการรบกวนจากสิ่งแวดล้อมภายนอก แม้ว่าอุณหภูมิจะเปลี่ยนไปก็ไม่มีผลอะไรกับตัวอนุจิ (Sperm)
                      สำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบางชนิด ซึ่งมีอุณหภูมิภายในร่างกายต่ำพอที่จะสามารถเก็บรักษาตัวอสุจิได้ เช่น ปลาวาฬ และช้าง
                      จาก Seminiferous tubules ของอัณฑะ ตัวอสุจิก็จะเคลื่อนที่ผ่านไปยัง Epididymis (หลอดเก็บตัวอสุจิ) โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 20 วัน ซึ่ง Epididymis เป็นส่วนที่ทำให้อสุจิเจริญสมบูรณ์เต็มที่ ตัวอสุจิจะเคลื่อนที่ผ่านมายังทื่อขนาด 6 เมตร ซึ่งได้แก่ Vas deferens (ท่อน้ำอสุจิ)  มีลักษณะเป็นท่อตรงไม่ขดงอมากนักซึ่ง vas deferens จะวกขึ้นไปหลังด้านหลังอัณฑะจะวิ่งขึ้นไปในอุ้งเชิงกรานและวกโอบด้านหลังของกระเพาะปัสสาวะ กลายเป็นท่อที่มีชื่อเรียกว่า Ejaculator duct เป็นท่อที่เกิดจาก Vasdeferens และท่อจาก Seminal vesicle มารวมกันเป็นท่อเดียว ejaculatory duct จะเปิดออกสู่ท่อปัสสาวะ (Urethra) ซึ่งออกมาจากกระเพาะปัสสาวะ จะทอดยาวทะลุต่อมลูกหมาก และเปิดออกสู่ภายนอกที่รูเปิดที่ปลาย องคชาติ (Penis)

                      Three sets of accessory gland จะประกอบไปด้วย คือ seminal vesicles, prostate, bulbourethral glands ซึ่งทั้ง 3 อย่างนี้จะปนอยู่กับอสุจิ
·    Seminal vesicles หรือต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ มีอยู่ 1 คู่ จะมีประมาณ 60% ของน้ำอสุจิเพศชายทั้งหมด seminal vesicles จะปล่อยของเหลวที่มีลักษณะเป็นเมือกใส มีฤทธิ์เป็นด่าง และมีน้ำตาลฟรุกโตส ซึ่งเป็นอาหารของตัวอสุจิและทำให้อสุจิมีชีวิตอยู่ได้
·    Prostate gland หรือต่อมลูกหมาก เป็นต่อมที่ใหญ่ที่สุด จะขับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง มีสีขาวขุ่นเหมือนน้ำนม ช่วยในการเคลื่อนที่ของตัวอสุจิ เพราะอสุจิเคลื่อนที่ไม่ได้ในสภาพแวดล้อมที่เป็นกรด
·    Bulbourethral glands มีอยู่ 1 คู่ และเป็นต่อมที่มีขนาดเล็ก อยู่ระหว่างท่อปัสสาวะ (Urethra) และอยู่ใต้ต่อมลูกหมาก จะหลั่งสารที่มีลักษณะเป็นเมือกใส มีฤทธิ์เป็นด่าง ช่วยปรับสภาพแวดล้อมที่เป็นกรดในท่อปัสสาวะให้เป็นกลาง
                      ปกติทั่วไปแล้วผู้ชายจะหลั่งน้ำอสุจิออกมาประมาณ  2- 5 มิลลิลิตร และจะมีตัวอสุจิอยู่ประมาณ 50-130 ล้านตัว
                      Penis  (องคชาต) มีรูปร่างคล้ายท่อรูปทรงกระบอก ประกอบด้วยกลุ่มของเนื้อเยื่อฟองน้ำ 3 ก้อน เรียงตัวตามความยาวของ Penis เนื้อเยื่อฟองน้ำนี้เป็นเนื้อเยื่อที่แข็งตัวได้ ประกอบด้วย ช่องว่างเล็ก ๆ มากมายที่บริเวณปลาย Penis บริเวณด้านบนของปลายองคชาตจะมีลักษณะบานออก คล้ายหมวด เรียกว่า Glans Penis บริเวณ Glans Penis นี้ถูกหุ้มด้วยผิวหนังบาง ๆ (Foreskin) ซึ่งทำหน้าที่ป้องกัน Glans Penis
                  ในสภาพปกติเลือดที่ไหลผ่านเนื้อเยื่อนี้มีปริมาณปานกลางเท่านั้น แต่ในช่วงที่มีความรู้สึกทางเพศเส้นเลือดจะขยายตัวนำเลือดเข้ามาปริมาณมาก และขังอยู่ระหว่างช่องว่างของเนื้อเยื่อฟองน้ำ ทำให้เนื้อเยื่อพองออกและไปกดเส้นเลือดดำป้องกันมิให้มีการไหลกลับของเลือดออกจากเนื้อเยื่อ จึงทำให้ Penis มีลักษณะแข็งตัว ทำให้สามารถสอดเข้าไปในอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศหญิงได้ เพื่อฉีด Ejaculation (น้ำอสุจิ) และทำให้เกิดการปฏิสนธิของไข่และอสุจิ

             3.2  ระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิง
                      โครงสร้างของระบบสืบพันธุ์ภายนอกของเพศหญิงคือ Clitoris มีลักษณะเป็นปุ่ม และมี Labia (แคม) 2 อัน อยู่รอบ ๆ Clitoris และ Vagina (ช่องคลอด) ส่วนโครงสร้างของระบบสืบพันธุ์ภายในของเพศหญิง จะประกอบไปด้วยอวัยวะต่าง ๆ เช่น รังไข่ 1 คู่ และ ระบบของท่อต่าง ๆ ที่ไว้สร้างเซลล์สืบพันธุ์ (ไข่) และเป็นที่อาศัยของ Embryo และ Fetus





                      ระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิงก็คือ รังไข่ (Ovaries) มีอยู่ 1 คู่ ภายในอุ้งเชิงกราน ถูกยึดให้อยู่ในช่องท้องโดยเอ็น ภายในรังไข่ประกอบไปด้วย Follicle ซึ่ง Follicle จะประกอบไปด้วย เซลล์ ไข่ จำนวน 1 เซลล์ และเซลล์ไข่จะถูกหุ้มด้วย Follicle cell เซลล์ไข่ที่หลุดออกมาจาก Follicle นี้ จะเรียกว่า การตกไข่ เนื้อเยื่อก็ยังคงอยู่ แล้วเจริญเติบโตภายในรังไข่ มีลักษณะเป็นของเหลวเรียกว่า Corpus luteum ใน Corpus luteum นี้จะมีฮอร์โมนEstrogen และ Progesterone ซึ่งเป็น ฮอร์โมน ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ ถ้าไข่ได้รับการปฏิสนธิวงจรการตกไข่ และ Follicle อันใหม่ ๆ ก็จะวนเวียนกันไปเรื่อย ๆ
                      เมื่อมีการตกไข่แล้ว  ไข่ที่หลุดออกมาจะเคลื่อนที่ไปยัง Oviduct หรือ Fallopian tube (ท่อนำไข่)ปลายท่อนำไข่จะมีลักษณะบานออกคล้ายกรวย ผนังด้านในของกรวยจะมีเยื่อบุผิวชนิดที่มี cilia ซึ่งทำหน้าที่โบกพัดไข่เข้าสู่ท่อนำรังไข่ และเป็นทางขนส่งไข่ที่ออกจากรังไข่เข้าสู่ Uterus (มดลูก)มดลูกหรือครรภ์มีลักษณะเป็นกล้ามเนื้อที่หนาและสามารถยืดขยายออกได้ ในระหว่างที่มีการตั้งครรภ์ และรองรับน้ำหนักของ Fetus ได้ 4 กิโลกรัม ภายในของมดลูกจะมีเยื่อบุผิวที่เรียกว่า Endometrium เป็นเนื้อเยื่อที่หลุดลบอกออกมาเป็นประจำเดือน
                      ปลายล่างของมดลักมีลักษณะแคบลงเรียกว่า Cervix (ปากมดลูก) ซึ่งเป็นส่วนที่เปิดออกสู่ Vagina (ช่องคลอด) ช่องคลอดเป็นกล้ามเนื้อสั้น ๆ ทำหน้าที่เป็นช่องคลอดเวลาคลอดลก และยังทำหน้าที่เป็นช่องสืบพันธุ์ รูเปิดช่องคลอดบางส่วนถูกปิดไว้ด้วย Hymen (เยื่อพรหมจารี) ส่วนนอกของช่องคลอด จะมีรูเปิดของช่องคลอดและรูเปิดออกของท่อปัสสาวะ (Urethra) มาเปิดออกที่ Vestibule บริเวณ ด้านข้างทั้ง  2 ข้างของ Vestibule จะมีเนื้อเยื่อบาง ๆ ขนาดเล็กอยู่เรียกว่า Labia minora(แคมเล็ก)  อยู่ระหว่าง Labia majora (แคมใหญ่) ซึ่งเนื้อเยื่อไขมันหุ้มด้วยผิวหนังมีลักษณะนูนขึ้นมา และจะหุ้ม Labia minoraและ Vestibule ไว้ ส่วนด้านบริเวณปลายด้านรบนของ Labia Minoraเป็นตุ่มเล็ก ๆ เรียกว่า Clitoris (คลิทอริส) ประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อที่แข็งตัวได้ Clitoris เป็นส่วนที่ไวต่อความรู้สึกเพศ เมื่อเกิดความรู้สึกทางเพศ จะมีเลือดมาเลี้ยงมาก หลอดเลือดแดงขยายตัวทำให้ Clitoris ขยายและแข็งตัว ในบริเวณช่องคลอดจะมีต่อมอยู่ซึ่ง เรียกว่า Bartholin’s glands ต่อมคู่นี้มีท่อไปเปิดเข้าใน Vestibule และมีหน้าที่สร้างน้ำเมือกทำให้ช่องคลอดลชื่น
                      Mammary glands (ต่อมน้ำนม) เป็นต่อมที่ปรากฏทั้ง 2 เพศ แต่โดยปกติจะมีบทบาทกับเพศหญิงมากกว่า ต่อมน้ำนมไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของระบบสืบพันธุ์แต่เป็นส่วนที่สำคัญสำหรับการสืบพันธุ์ ของสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม ภายในต่อม จะประกอบไปด้วย ถุงเล็ก ๆ ของเนื้อเยื่อ Epithelialซึ่งจะทำหน้าที่ในการหลั่งน้ำนม น้ำนมจะถูกหลั่งออกมาทางท่อเปิดตรงบริเวณหัวนม


          3.3  การสร้างเซลล์สืบพันธุ์ ของเพศชาย
                      การสร้างตัวอสุจินั้นจะเป้นกระบวนการที่เกิดขึ้นในผุ้ชายที่เข้าสู่วัยการหกลั่งอสุจิในแต่ละครั้งนั้นจะมีตัวอสุจิ จำนวน 100 ถึง 650 ล้านตัว และสามารถที่จะหลั่งออกมาได้ทุกวัน
                     โครงสร้างของตัวอสุจิ ซึ่งจะประกอบไปด้วยส่วนหัวซึ่งมีลักษณะออกเป็นรูปยาวรี จะถูกหุ้มด้วยส่วนที่เรียกว่า Acrosome ซึ่งภายในมีเอนไซม์บรรจุอยู่ ซึ่งเอนไซม์นี้จะช่วยทำให้อสุจิสามารถเจาะเข้าไปภายในผนังของเซลล์ไข่ได้ ส่วนล่างของหัวของ sperm cell จะมีลักษณะเป็นเกลียวของ Mitochondria และมีสาร ATP ที่จะคอยทำหน้าที่ควบคมมุการเคลื่อนไหวของหางอสุจิ ให้โบกไปมาอสุจิของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จะมีขนาดที่หลากหลาย
                      กระบวนการสร้างอสุจิ (Spermatogenesis)    การสร้างอสุจิเกิดภายในท่อ Seminiferous tubules ภายในหลอดเล่านี้มีกลุ่มเซลล์ Spermatogoniumจะมีการแบ่ง ตัวแบบ Mitosis  เมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่น Spermatogonium บางส่วนจะมีการแบ่งเซลล์แบบ Meiosis เรียกเซลล์ที่พร้อมจะแบ่งตัวแบบ Meiosis ว่า Primary spermatocyte (2n) เมื่อแบ่ง Meiosis ขั้นที่ 1 จะได้จะได้เซลล์ใหม่ 2 เซลล์ แต่ละเซลล์มีโครโมโซมลดลงครึ่งหนึ่ง (n) เรียกว่า Secondary spermatocyte ซึ่งจะเกิดการแบ่งการ Meiosis ขั้นที่ 2 จนเกิดเซลล์ใหม่ 4 เซลล์ เรียกว่า Spermatids ซึ่งมีโครโมโซมเดียว (n) ต่อมา Spermatids จะเปลี่ยนรูปร่างกลายเป็น Spermatozoa หรือตัวอสุจิ
            
          3.4  การสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของเพศหญิง
                      การสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของเพศหญิงเกิดขึ้นที่รังไข่ (Ovary) เซลล์เริ่มต้นของการสร้าไข่ เรียกว่า Oogoniumและ Oogonimจะมีการพัฒนาเจริญไปเป็น Primary oocyte (2n) ในผู้หญิงจะมี Primary oocyte ตั้งแต่แรกเกิด แจะมี follicles ล้อมรอบอยู่ซึ่งจะทำหน้าที่ให้อาหารแก่ oocyte ที่กำลังมีการเจริญเติบโตและทำหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมน Primary oocyte จะมีการแบ่งตัวแบบ Meiosis ตอนที่ 1 มารแล้ว จนถึงระยะ Prophase 1 จากนั้นจะหยุดรอจนกระทั่งเด็กหญิงเจริญเติบโตเข้าสู่วัยรุ่น เมื่อผู้หญิงเข้าสู่วัยรุ่น ในแต่ละเดือนจะมีฮอร์โมนปล่อยอกมาจากต่อมใต้สมองคือ FH กระตุ้นให้ Primary oocyte มีการแบ่งเซลล์แบบ Meiosis ตอนที่ 1 ต่อไป   การแบ่งเซลล์แบบ Meiosis ตอนที่ 1 นี้จะเสร็จสมบูรณ์ไม่กี่ชั่วโมงก่อนระยะเวลาไข่ตก (Ovulation) และได้ 2 เซลล์ และมีขนาดไม่เท่ากัน เซลล์หนึ่งมีขนาดใหญ่กว่า เรียกว่า Secondary oocyte (n) เซลล์ที่ 2 มีขนาดเล็กกว่า เรียกว่า First polar body (n) การแบ่งแบบ Meiosis ตอนที่ 2 จะไม่เกิดขึ้นจนกว่าจะมีการปฏิสนธิ จากนั้น Secondary oocyte จะแบ่งตัวแบบ Meiosis ตอนที่ 2  ต่อไป และจะได้ 2 เซลล์ และมีขนาดไม่เท่ากัน เซลล์หนึ่งมีขนยาดใหญ่กว่า เรียกว่า Ootid (n) เซลล์ที่ 2 มีขนาดเล็กกว่า เรียกว่า Second polar body และ First polar body จะแบ่งตัวแบบ Meiosis จะได้เซลล์ที่มีขนาดเล็ก 2 เซลล์ คือ Second polar body (n) เมื่อสิ้นสุดการสร้างไข่จะได้ 4 เซลล์ ได้แก่ Ootid 1 เซลล์ และ SAecond polar body 3 เซลล์ ซึ่ง Second polar body ทั้ง 3 เซลล์จะฝ่อสลายไป เหลือเพียง Ootidซึ่งจะเจริญและพัฒนาต่อไปเป็นไข่ (Ovum) 


           3.5  ข้อแตกต่างระหว่างการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของเพศหญิงและเพศชาย
·    จากเซลล์เริ่มต้น Primary oocyte 1 เซลล์ แบ่งตัวได้ 4 เซลล์ ก็คือ Ootid1 เซลล์ และ Second polar body 3 เซลล์ ซึ่ง Second polar body ทั้ง 3 เซลล์ ซึ่ง Second polar body ทั้ง 3 เซลล์จะฝ่อสลายไป เหลือเพียง Ootidซึ่งจะเจริญและพัฒนาต่อไปเป็นไข่ (Ovum) ส่วนการสร้างอสุจิจาดเซลล์เริ่มต้น Primary spermatocyte 1 เซลล์แบ่งได้ Spermatids 4 เซลล์ ทุกเซลล์เจริญต่อไปเป็นตัวอสุจิ 4 ตัว 
·    สเปิร์ม หรืออสุจิ จะมีการแบ่งเซลล์แบบ Mitosis ตลอดจนชีวิตของมัน แต่เซลล์ที่พัฒนาไปเป็นไข่ในกระบวนการสร้างไข่ จะไม่มีการแบ่งตัวแบบ Mitosis เลย
·    กระบวนในการสร้างไข่จะมีระยะพักตัวนานกว่ากระบวนการสร้างตัวอสุจิ ซึ่งกระบวนการสร้างตัวอสุจิสามารถสร้างได้ตลอดชีวิต

          3.6 ฮอร์โมนเพศชาย
                      ในเพศชาย ฮอร์โมนเพศชนิดหลัก ๆ ก็คือ ฮอร์โมน Androgens (แอนโดเจน) ซึ่งจะมี testosterone (เทศโทสเตอโรน) เป็นส่วนประกอบสำคัญ Androgens (แอนโดเจน) จะถูกผลิมาจาก Leydig cells  ในลูกอัณฑะ ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดคุณลักษณะของเพศชาย ซึ่งหมายถึงรูปร่างเส้นผม ลุกษณะของกล้มเนื้อ และการผลิตตัวอสุจิด้วย ฮอร์โมน Androgens (แอนดอเจน) จะเป็นสารที่ทำให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนามมีพฤติกรรมเป็นสัตว์ แต่ในพฤติกรรมการเป็นสัตว์ จะแสดงออกมาทางการร้องเพลง และในกบจะเป็นการร้องหาคู่แทน ฮอร์โมนจะถูกส่งมาจากต่อม Pituitary ด้านหน้า และสมองส่วน Hypothalamus ซึ่งจะควบคุมสาร Androgens (แอนโดเจน) และการผลิตตัวอสุจิจากอัณฑะ


          3.7  ฮอร์โมนเพศหญิง
                      ในเพศหญิงการสร้างฮอร์โมน จะเกิดเป็นลักษณะเป็นรอบ ๆ ซึ่งตจะต่างจากผู้ชายซึ่งจะผลิตตัวอสุจิได้ตลอดเวลา แต่ในหญิงนั้นจะผลิตเพียงแค่ไข่ 1 ฟอง หรือ 2-3 ฟอง ในแต่ละรอบ โครงสร้างภายในแต่ละรอบเดือนนั้นค่อนข้างมีความซับซ้อนมาก
                      มนุษย์และสัตว์บกซึ่งจะมี Menstual cycles (รอบเดือน) ส่วนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นจะเป็นแบบ Entrous cycles ในทั้ง 2 กรณี จะมีการตกไข่เป็นรอบหลังจาก Endometrium  ได้เริ่มมีขนาดหนา และพัฒนามาเป็น ถุงน้ำ ซึ่งเพื่อไว้ใช้สำหรับการเลี้ยงตัวอ่อน ซึ่ง 2 กรณีจะมีข้อแตกต่างกัน 1 อย่าง คือ ในการเกิดรอบเดือน ซึ่งจะหลั่งเลือดไหลไปตาม Cervix และ ช่องคลอด เรียกว่า Menstual cycles ส่วน Entrous cycles จะเกิดจากที่ Endometrium เกิด reabsorbed โดย มดลูก และจะไม่ปรากฏการหลั่งเลือดออกมา   การหลั่งเลือดเป็นการสูญเสียอย่างมาก นักวิทยาศาสตร์ตั้งคำถามว่าทำไมสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมจึงใช้กระบวนการที่เป็นการสูญเสียอย่างนี้
                      วงจรของการสืบพันธุ์ของสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมอาจจะเกิดในช่วงเวลาที่ยาวและบ่อยกว่ามนุษย์ซึ่งมนุษย์จะมีกระขบวนการเกิด Menstual cycles (รอบเดือน) จะกินเวลา ประมาณ 28 วัน ในแต่ละรอบ ส่วน Entrous cycles ในสัตว์ชนิดอื่น เช่น หนู จะมีทุก ๆ 5 วัน หมีและสุนัขจะมีปีละ 1 ครั้งโดยเฉลี่ย
                      วงจรการเกิดประจำเดือนของมนุษย์แต่ละรอบใช้เวลาประมาณ 20 40 วัน ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล แต่โดยเฉลี่ยแล้วรอบหนึ่งกินเวลาประมาณ 28 วัน
                      วงจรการเกิดประจำเดือนเป็นวงจรที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะ 2 อวัยวะ คือ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับผนังมดลูก ซึ่งเรียกว่า Menstrual cycle แบ่งออกได้ 3 ระยะ ได้แก่ Menstrual flow phase  ซึ่งเป็นระยะที่เริ่มต้นจากวันแรกของวงจรประจำเดือน จนถึงวันที่  4 5 ซึ่งเป็นช่วงที่ผู้หญิงเป็นประจำเดือน ในระยะนี้เยื่อบุมดลูกชั้น Endometrium มีการหลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือนเมื่อประจำเดือนหยุด เยื่อบุมดลูกชั้น Endometrium เริ่มหนาตัวขึ้นมาใหม่ ระยะนี้เป็นระยะที่มีการเจริญของเยื่อบุมดลูกจึงเรียกว่า Proliferative phase กินเวลาประมาณ 10 วัน หลังจากประจำเดือนหยุดไหลจนถึงช่วงที่ไข่ตก หลังจากที่ไข่ตกแล้วจะเป็นระยะ Secretory phase เป็นช่วงที่ต่อมในผนังมดลูกมีการเจริญมากขึ้น และเริ่มขับสารออกมาผนังมดลูกชั้น Endometriiumมีความหนามากขึ้น เนื่องจากมี glycogen ของเหลวมาสะสมในเนื้อเยื่อมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ก็เพื่อให้ผนังมดลูกมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับตัวอ่อน Secretory phase มีระยะเวลาตั้งแต่ไข่ตกจนถึงเริ่มมีประจำเดือนรอบใหม่

                      ส่วนการเปลี่ยนแปลงทีเกิขึ้นในรังไข่ เรียกว่า Ovarian cycle  ซึ่งแบ่งออกได้ 2 ระยะ คือ follicular phase เป็นระยะที่มีการเจริญของไข่จาก Primary oocyte และ Follicular phase เป็นระยะที่มีการเจริญของไข่จาก Primary oocyte เป็น Secondary oocyte และ Luteal phase เป็นระยะที่เริ่มต้นจากการตกไข่ (Ovulation) และมีการเจริญของ Corpus luteum ไปจนถึงการสลายตัวของ Corpus luteum
                      วงจรการเกิดประจำเดือนเริ่มเกิดขึ้นเมื่อผู้หญิงย่างเข้าสู่วัยรุ่น วงจรนี้ถูกควบคุมโดยฮอร์โมนที่หลั่งจากสมองส่วน Hypothalamus คือ Godonotropin – releasing hormone (GnRH) ซึ่งจะกระตุ้นให้มีการหลั่งฮอร์โมน 2 ชนิด คือ จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า คือ Follicle – stimulating hormone (FSH) และ  Luteinizing hormone (LH) FSH จะกระตุ้นให้ไข่เริ่มมีการพัฒนาและมีการหลั่ง ฮอร์โมน Estrogens จากเซลล์ใน Follicle LH จะกระตุ้นให้ไข่เริ่มมีการพัฒนาจนเจริญเต็มที่ ท ให้ขี่ตก และกระตุ้นให้ Corpus luteum สร้างฮอร์โมน Estrogens และ Progesterone

                      สรุป การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนที่เกิดขึ้นในวงจรประจำเดือน คือ
                      FSH จะเพิ่มจำนวนเล็กน้อยในช่วงต้นของ Follicular phase จากนั้นจะลดลงเรื่อย ๆ จนสิ้นสุดวงจรยกเว้นช่วงกึ่งกลางวงจรระยะก่อนไข่ตกจนถึงไข่ตก FSH จะเพิ่มขึ้นสูงเล็กน้อยอย่างรวดเร็วและตกลงมาใหม่
                      LH มีระดับคงที่ในช่วง Follicular phase  แต่ในช่วงกึ่งกลางวงจร LH มีระดับเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และลดลงอย่างรวดเร็ว หลังจากนี้ LH จะลดลงอย่างช้าในระยะ Luteal phase
                      Estrogens มีระดับต่ำคงที่ในช่วงอาทิตย์แรก หลังจากนั้นจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในช่วงอาทิตย์ที่ 2 เนื่องจาก ๆ ไข่กำลังมีการเจริญ และมีการหลั่งฮอร์โมน Estrogens ออกมา ระดับของ Estrogens เริ่มลดลงหลชังจากที่ระดับ LH สูงขึ้น ในช่วงหลังจากกึ่งกลางของวงจร ระดับ Estrogens จะสูงขึ้นเป้นครั้งที่ 2 เนื่องจาก Corpus luteum มีการหลั่ง Estrogens ออกมาด้วย ในที่สุดระดับ Estrogens จะลดลงอย่างรวดเร็วในวันสุดท้ายของวงจรประจำเดือน เนื่องจาก corpus luteum ฝ่อไม่มีการหลั่ง Estrogens อีกต่อไป

                      Progesterone ไม่มีการสร้าง Progesterone ในช่วง Follicular phase จนกระทั่งก่อนไข่ตกเล็กน้อย  หลังจากไข่ตกแล้วไม่นานระดับของProgesterone จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากถูกหลั่งมากจาก Corpus luteum จนกระทั่งวันสุดท้ายของวงจรประจำเดือน หลังจากนั้นระดับของ Progesterone จะลดลงอย่างรวดเร็วเนื่องจาก corpus luteum ฝ่อและสลายตัว
____________________________________________________________