วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558

แบคทีเรียที่มีเปอร์เซ็น G+C สูง และเป็นแบคทีเรียแกรมบวก

แบคทีเรียที่มีเปอร์เซ็น G+C สูงและเป็นแบคทีเรียแกรมบวก

         ใน Bergeys Manual พิมพ์ครั้งที่  High G+C Gram positive bacteria จะเป็นพวก actinomycetes  (เนื่องจากว่ามี filamentous hyphae แถมยังไม่ค่อยพบว่ามีการ fermentation และสร้าง asexual spores) ซึ่งจะคล้ายๆกับรา (fungi) แต่ต่อมาจะแยกเป็น กลุ่ม High G+C Gram positives ใน Bergeys Manual พิมพ์ครั้งที่ 2


1.      คุณลักษณะทั่วไปของ actinomycetes
·       เมื่อเพาะเลี้ยงบน agar จะเกิดเป็น branching network of hyphae มี septa ซึ่งจะแบ่งเซลล์เป็นส่วนๆละ 20 mm หรือมากกว่านี้ แต่ละเซลล์มี nucleoids > 1   การแตกกิ่งก้านของ actinomycetes  จนมีลักษณะคล้ายก้อน tissue เรียกว่า thallus      actinomycetes หลายๆ ชนิดจะมีการฟอร์มของ asexual thin – walled spore  เรียกว่า conidia  หรือ conidiospores  ถ้าสปอร์อยู่ใน sporangium จะเรียกว่า sporagiospores  สปอร์นี้ยังมีขนาดต่างๆกัน     สปอร์ของ actinomycetes มักจะไม่ทนต่อความร้อน
·       Actinomycetes  ส่วนมาก เคลื่อนไหวไม่ได้  การเคลื่อนไหวมักจะมีเมื่อเป็น flageleted spores
·       Cell  wall  ของ actinomycetes  มี 4 types หลักๆ ตามลักษณะ
1.      peptidoglycan composition และ structure ก็คือ  amino  acid  ใน
      tetrapeptide side chain ตำแหน่งที่ 3
2.      glycine ใน interpeptide  bridges
3.      peptidoglycan sugar content
·       นอกจากนี้แล้ว การดูองค์ประกอบของ sugar  ใน cell wall ของ actinomycetes ยังสามารถใช้จำแนกแบคทีเรียกลุ่มนี้ได้เช่นกัน
·       ความสำคัญ actinomycetes ช่วยย่อยสลาย organic matter, มี anibiotics และเป็น pathogens


2.      High  G+C Gram  Positive  Bacteria  in  Bergey’s  Manual 2nd
·       ต่อมาในการตีพิมพ์ของ Bergeys Manual ครั้งที่ 2  ได้แบ่งแยก actinomycetes ใหม่ตาม 16S rRNA sequences
·       Actenomycetes มี 1  Class (Actinobacteria), 5 subclasses, 6 orders, 14 suborders  และ 40 families  ซึ่งเป็น high G+C Gram positives 


3.      Suborder  Actinomycineae
·       พวก Actinomyces, Arcanobacterium  และ Mobiluncus อยู่ใน suborder นี้
·       ตัวอย่าง เช่น Actinomyces  รูปทรงเป็น straight หรือ slightly curved rods
·       เป็นได้ทั้ง facultative  หรือ strict anaerobes ซึ่งต้องการ CO2 เพื่อ best  growth 
·       Cell wall  มี lysine  (ไม่เป็น diaminopimelic acid  หรือ glycine)
·       Actinomyces  species  พบทั่วๆไปที่ mucosal surfaces ในคนเราและสัตว์เลือดอุ่น ที่พบมากจะเป็นที่ oral cavity
·       A. bovis  ทำให้เกิด ocular infection (การติดเชื้อที่ตา ) และ periodontal  disease (โรคเหงือก)


4.      Suborder   Micrococineae
·       มี  10  families  และแบ่งเป็น genera ย่อยๆ อีกหลายๆอัน
·       ที่รู้จักกันดีใน  suborder  นี้  คือ genus  Micrococcus  กับ Arthrobacter
4.1  Micrococus
·       เป็น aerobic, catalase – positive  cocci  โดยมักจะพบว่ามันจะจับกันอยู่เป็นคู่ , สี่ หรือ กลุ่มใหญ่ เป็น nonmotile
·       Micrococci  มักจะมีสีเหลือง ส้ม หรือแดง พบในพื้นดิน น้ำและ ผิวหนังของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม  แม้ว่าพบที่ผิวหนังแต่ micrococci ไม่เป็น pathogenic
4.2  Arthrobacter
·       aerobic, catalase – positive  rods  มี lysine ใน peptidoglycan
·       ลักษณะที่พิเศษของ arthrobacter คือ มี rod–coccus growth cycle 
Arthrobacter (exponential phase) = irregular rods (snapping division ) ® coccoid (stationary phase) ® เพาะลง fresh medium ® ลายเป็น rods
·       Anthrobacter  มักจะแยกเชื้อได้จากปลา, ในท่อน้ำทิ้ง, ผิวต้นไม้ แต่ที่อยู่ที่สำคัญเป็นพื้นดิน  Arthrobacter  ปรับตัวได้ดีในดิน แม้ว่าจะเป็นดินที่ขาดสารอาหาร
·       Arthrobacter  ยังสามารถย่อยสลายพวก  herbicides  และ pesticides
·       Snapping  division = ใน bacteria นั้นมี  inner  กับ outer cell  wall       ใน snapping  division  เฉพาะ  inner membrane จะเกิดเจริญเป็น  septum  ทำให้เกิดแรงตึงที่ outer  membrane  สุดท้าย outer membrane ก็แตก เซลล์แยกเป็นสอง


5.      Suborder  Corynebacterineae
·       มี 7 families     genus ที่สำคัญ 3 genus คือ Corynebacterium , Mycobacterium  และ Nocardia
5.1  Genus  Corynebacterium
·       aerobic  หรือ faccultative, catalase  positive,  straight หรือ slightly curved rods
·       แบคทีเรียนี้มักจะพบว่า หลังจาก snapping  division เซลล์ที่จะแยกออกไป จะยังคงติดกันอยู่  และมักจะเรียงตัวกันโดยหันด้านข้างชนกัน
·       Cell  walls มี  meso–diaminopimelic acid
·       บาง species เป็น  saprophytes  ในน้ำมันและน้ำ  หลายๆ species เป็น plant  หรือ animal pathogens  เช่น C. diphtheriae ทำให้เกิดโรคคอตีบ (diphtheria)  ในคน
5.2  Genus  Mycobacterium  
·       slightly curved straight rods  บางครั้งพบเป็นกิ่งก้านหรือต่อกันเป็น filaments 
·       Mycobacterial filaments ® fragmenting  เป็น rods และ coccoid (เมื่อเทียบกับ actinomycetes)
·       เป็น aerobic และ catalase positive 
·       Mycobacteria โตช้ามาก คือ ใช้เวลา 2-40 วันบนอาหารเพาะเชื้อ agar
·       Cell  walls  มี  lipid สูงมาก  และ cell walls มี waxes ที่มีโมเลกุลคาร์บอน  60-90 ตัวชื่อว่า mycolic acids
·       การที่มี mycolic acids และlipids อื่นๆ ที่ผนังเซลล์ชั้น peptidoglycan layer  ทำให้ mycobacteria ย้อมติดสี acid–fast (fuchsin dye)
·       M. bovis ® ทำให้เกิดวัณโรค (tuberculosis) ในสัตว์กินหญ้าและลิง  เพราะเหตุนี้จึงจำเป็นต้องมีการ ตรวจสอบ อาหารพวกนม  วัว เพื่อป้องกันวัณโรคด้วย
M. tuberculosis ® tuberculosis ในคน
M. leprae ®ทำให้เกิดโรคเรื้อน (leprosy)
5.3  Genus  Nocordia 
·       อยู่ใน family  Nocardiaceae  มี 2 genera  : Nocardia  กับ R. rhodococcus  แต่เนื่องจากทั้ง 2 genera  เหมือนกันมากจึงมักจะเรียกเป็น nocardioforms 
·       แบคทีเรียกลุ่มนี้จะมี mycelium ที่แตกออกเป็น rods และ coccoid  elements
·       ส่วนมากเป็น strict aerobes
·       cell  walls มี peptidoglycan  ซึ่งมี meso-diamino pimelic acid  (ไม่มี peptide interbridge)  ผนังเซลล์มักมีคาร์โบไฮเดรตพวก arabinose และ galactose
·       Nocardia และ Rhodococcus มี mycolic acids ที่ walls ด้วย
·       Nocardia  พบตามแหล่งน้ำต่างๆ ®degradation  ของ hydrocarbons และ waxes ทำให้เกิดการเสียหายของ rubber  joints ในท่อน้ำ   N. asteroides ก่อโรคในคนได้ (ติดเชื้อที่ปอด)
·       Rhodococcus พบตามแหล่งดินและน้ำ  ®   น่าสนใจมากเนื่องจากสามารถ ย่อยสลายโมเลกุลพวก petroleum hydrocarbons, detergents, benzene, polychlorinated biphenyls (PCBs) และ pesticides และยังมีความเป็นไปได้ที่ จะใช้ Rhodococcus ในการแยก sulfur ออกจากน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งจะช่วยลดปริมาณมลพิษในอากาศจาก sulfer oxide emissions จากรถยนต์


6.      Suborder  Micromonosporineae
·       มี 1 family  คือ Micromonosporaceae
·       Actinoplanetes  [Gr. actinos = a ray of beam / planes / a wanderer] มี mycelium และ cell wall  ชนิด IID,     hyphae มักจะมีสี  มักจะไม่มี airal mycelium  มี conidiospores อยู่ใน sporangium ที่ชูขึ้นมาโดย sporagiophore      สปอร์มีทั้งเคลื่อนที่ได้และไม่ได้     Actinoplanes และ Pilimelia  genus มี 5 sporangia  ซึ่งเป็นลักษณะเป็นกรวยกลม ภายในมีสปอร์หลายพันสปอร์ สปอร์จะเรียงกันวงกลมหรือลูกโซ่
Pactylosporangium  สปอร์เป็นรูป  club–shaped  เหมือนนิ้วมือ มีสปอร์อยู่ 1-6 สปอร์     Micromonospora มี สปอร์ที่เห็นเป็นกิ่งก้าน
·       Actinoplanetes  พบตามพื้นดิน ในป่าจนถึงทรายตามชายหาดทะเล  นอกจากนี้แล้วยังพบในแหล่งน้ำจืดโดยเฉพาะตามแม่น้ำลำ  คลองเนื่องจากว่ามี O2 และซากพืชอยู่มาก         บางสปีชีส์พบในมหาสมุทร  actinoplanetes  ที่อยู่ตามพื้นดินจะสำคัญในการย่อยสลายซากพืช ซากสัตว์      Pilmelia โตในอาหารที่มี kenatin     Micromonospora  สามารถย่อย  chitin และ cellulose ได้ และยังสร้าง antibiotics เช่น gentamicin ได้


7.      Suborder  Propionibacterineae
·       มี 2 families  แบ่งเป็น 10 genera
·       genus  ที่สำคัญคือ Propionibacterium  ซึ่งอยู่ใน family  Propionibacteriaceae
-          เป็น pleomorphic, nonmotile, nonsporing rods บางเซลล์จะพบเป็น coccoid  หรือ branched  อาจจะเกาะกลุ่มกันอยู่หรือเกาะกันเป็นระยะสั้นๆ
-          faculatatively anaerobic หรือ aerotolerent
-          lactate  และ sugars  ถูก fermented  เพื่อผลิต propionic และ acetic acids และ CO2
-          usually catalase positive
-          เจริญได้บนผิวหนัง และทางเดินอาหารในสัตว์ต่างๆ  พบในผลิตภัณฑ์นม เช่น cheese    Propionibacterium  ใช้ผลิต swiss cheese  
-          P. acnes  เกี่ยวข้องกับการเกิดกลิ่นตัวและสิว (acne vulgaris)


8.      suborder  Streptomycineae
·       มี 1 family  คือ Streptomycetaceae  ซึ่งแยกเป็น 3 genera    genus ที่สำคัญคือ Streptomyces  ซึ่งมี aerial hyphae  ลักษณะแยกเป็น 2 กิ่งแต่ละกิ่งมี  nonmotile conidiospores  ต่อกันเป็นเหมือนลูกปัด
·       Streptomyces  มี cell wall ชนิด type I, G+C content 69-78 %,  mycelium  จะไม่มีการแตกหลุด (fragmentation)  เชื้อในกลุ่มนี้มักจะถูกเรียกว่า streptomycetes [Gr. Streptos = bent or twisted, myces = fungus]
·       Streptomyces มีประมาณ 500 สปีชีส์ เป็น strict aerobes          สปอร์ของ Streptomyces จะต่อกันเป็นลูกปัดหุ้มด้วย sheath เรียกว่า conidia ซึ่งมักจะมี pigment  ผิวเรียบหรือมีขนด้วย
·       Streptomyces  species สามารถแยกแยะได้ตามสัณฐานวิทยาของมันและลักษณะต่างๆ ของ Mycelia  การเรียงตัวของสปอร์  การใช้คาร์โบไฮเดรต  การผลิต antibiotic,  hydrolysis of urea,  และผลิต hipupuric acid
·       Streptomyces มีความสำคัญทั้งทางนิเวศวิทยาและทางการแพทย์  ที่อยู่ตามธรรมชาติของ Streptomyces คือตามพื้นดิน  กลิ่นของดินเป็นผลที่เกิดจาก Sterptomyces ซึ่งสร้างสารระเหยพวก geosmin     นอกจากนี้แล้ว streptomyces ยังเป็นผู้ย่อยสลายอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะสามารถย่อยสลายพวก pectin, lignin, chitin, keteatin, latex  และ aromatic  compounds            และ Streptomycetes ยังรู้จักกันดีในแง่ที่มันสามารถผลิตยาปฏิชีวนะได้เช่น amphotericin B, chloramphenicol, erythromycin, neomycin, nystatin, streptomycin, tetracycline และอื่นๆ
·       Streptomyces scabies ก่อให้เกิดโรค scub disease กับ มันฝรั่งและบีท (beets)   S. somaliensis  ก่อโรค actinomycetoma เป็นการติดเชื้อที่เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ทำให้เกิดหนอง บวม  จนอาจจะลุกลามไปถึงกระดูก   S. albus  เป็นอีกเชื้อหนึ่งที่พบในผู้ป่วยและอาจก่อโรคได้ด้วย
·       Streptoverticillium  เป็น genus ที่มี mycetium  ที่แตกเป็นกิ่ง แต่ละกิ่งจะมีสปอร์อยู่ 


9.      Suborder  Streptosporangineae
·       มีทั้งหมด 3 families  แยกเป็น 14 genera
·       Maduromycetes  มี type III cell wall  และภายในเซลล์มีน้ำตาล madurose (3-0-methyl – D-galactose), G+C content  64-74 %, aerial  mycelia  มีสปอร์ที่ต่อกันเป็นลูกปัดสั้นๆ   ส่วน Substrate mycelium จะแตกเป็นแขนง  บางสปีชีส์จะมี  sporangia ซึ่งจะไม่ทนต่อความร้อนมาก Thermomonospora พบในกองเศษที่เน่าเปื่อยและกองฟาง  Thermomonospora  สามารถเจริญได้ที่อุณหภูมิ 40-48 °C          

10.  Suborder  Frankineae
·       มี genera ที่สำคัญคือ Frankia  กับ Geodermatophilus
·       Frankia มี nonmotile sporangiospores เป็น symbiotic ในพืชที่ไม่ใช้พืชตระกูลถั่ว เป็น microaerophile  สามารถ fix nitrogen ได้ การ fix nitrogen จะคล้ายกับ Rhizobium
·       Geodermatophilus  มี motilespores        
     Geodermatophilus เป็น aerobic soil organism


11.  Order  Bifidobacteriales 
·       มี 1 family  คือ Bifidobacteriaceae  แยกเป็น 8 genera
·       genera Falcivibrio และ Gardnerella  พบที่ท่อทางเดินปัสสาวะของคน
·       Bifidobacterium genus  เป็นจีนัสที่มีการศึกษากันมาก เป็น nonmotile, nonsporing, gram–negative rods  อาจพบ rods จับกันเป็นรูปตัววีได้
·       Bifidobacterium เป็น anaerobic  และชอบหมัก (fermentation) carbohydrates®ได้ acetic และ lactic acids  แต่ไม่มี CO2 เกิดขึ้น  พบตามช่องปากลำไส้ของสัตว์เลือดอุ่น ในท่อน้ำทิ้งและพบที่แมลง   B. bifidus เป็นเชื้อตัวแรกที่จะเข้ามาอยู่ที่ลำไส้คนเรา  โดยเข้ามาตอนที่ดูดนมแม่ในวัยเด็ก


.......................................................................................................

วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2558

การจำลองตัวเองของดีเอ็นเอ (DNA replication)

การจำลองตัวเองของดีเอ็นเอ (DNA replication)

  • DNA replication เป็นแบบ semiconservative DNA replication
  • การจำลองตัวเองของดีเอ็นเอเป็นแบบ  กึ่งอนุรักษ์ (semiconservative replication)” หมายความว่า ในดีเอ็นเอคู่ใหม่ที่เป็นดีเอ็นเอ สาย จะมีดีเอ็นเอสายหนึ่งเป็นสายเดิมและดีเอ็นเออีกสายหนึ่งเป็นสายที่สังเคราะห์ขึ้นมาใหม่ 

1.     รูปแบบการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ (Patterns of DNA Synthesis)
  •       รูปแบบแรกพบในแบคทีเรีย E. coli เมื่อโครโมโซมดีเอ็นเอที่เป็นวงกลม (circular DNA chromosome) ของ E. Coli  มีการจำลองตัวเอง  กระบวนการจำลองตัวเอง (replication) จะเริ่มต้นจากจุด จุด เรียกว่า จุดกำเนิดของการจำลองตัวเอง (origin of replication)  และการสังเคราะห์ดีเอ็นเอสายใหม่จะเกิดขึ้นที่ replication fork เมื่อ replication fork เคลื่อนที่รอบโครโมโซมดีเอ็นเอที่เป็นวงกลม จะเกิดเป็นโครงสร้างคล้ายตัวอักษรกรีก ธีต้า (theta(qจนสุดท้ายการกระบวนการจำลองตัวเองเสร็จสิ้น   replication fork จะวิ่งมาชนกันและโครโมโซมก็แยกออกจากกันได้เป็น วง โปรตีนที่ทำหน้าที่ในปฏิกิริยาการสังเคราะห์ดีเอ็นเอสายใหม่ (polymerization) คือ replisome (หรือหนังสือเล่มอื่นจะใช้ชื่อว่า DNA polymerase III )

           
       กระบวนการจำลองตัวเองของดีเอ็นเอ (DNA replication) อีกแบบหนึ่งเกิดขึ้นระหว่างกระบวนการ conjugation ของ E. coli  และการ reproduction ของไวรัส (เช่นฟาจแลมบ์ด้า phage lเป็นแบบ rolling–circle mechanism โดยขั้นแรกดีเอ็นเอสายหนึ่งถูกตัด (nickหลังจากนั้นจะมีการสร้างดีเอ็นเอสายใหม่ต่อเข้าที่ปลาย 3’-hydroxy end ของดีเอ็นเอสายที่ถูกตัด และจะสร้างไปจนบรรจบกับบริเวณที่ดีเอ็นเอสายนั้นถูกตัด ขณะเดียวกันดีเอ็นเอสายที่เป็น 5’ ก็จะถูกแทนที่และหลุดออกมา

  • การสร้างดีเอ็นเอสายใหม่ (+ strandเกิดจากปฏิกิริยา polymerization ของ replisome (DNA pol III) เติม deoxyribonucleotides ที่ free 3'-OH   นอกจากนี้ยังมี single – stranded DNA –binding proteins (SSBs) มาจับที่ + strand ด้วยเพื่อป้องกันการถูกทำลาย อีกตัวอย่างหนึ่งของกลไกนี้คือ ใน phage fX174 ที่มี rolling- circle mechanism โดยที่มีเอนไซม์ที่ใช้ตัดดีเอ็นเอชื่อ A protein ที่ใช้เริ่มต้น rolling cycle 
  • ส่วนในยูคาริโอตนั้นดีเอ็นเอเป็นเส้นตรงและยาวกว่าใน E. coli มาก  ดังนั้นกระบวนการจำลองตัวเองของดีเอ็นเอจึงมี replication fork เกิดขึ้นหลายจุดพร้อมกัน

2.     กลไกการจำลองตัวเองของดีเอ็นเอ (Mechanism of DNA Replication)
  •     the replication of E. coli DNA is probably best understood
  •     the process in eukaryotic cells is thought to be similar
  •     กระบวนการจำลองตัวเองของดีเอ็นเอมี ขั้นตอนคือ

1.      เริ่มต้นที่ DnA protein เข้ามาจับที่ OriC locus  เพื่อเริ่มต้นคลายเกลียวของสายดีเอ็นเอ หลังจากนั้น helicases (DnaB proteinsจะเข้ามารับช่วงคลายเกลียวสายดีเอ็นเอต่อ เมื่อสายดีเอ็นเอถูกแยกแล้ว จะถูกจับด้วย single-stranded DNA binding proteins (SSBsเพื่อไม่ให้ดีเอ็นเอกลับมาจับกันอีก     ถ้าเหตุการณ์นี้ ดีเอ็นเอมีการคลายตัวอย่างรวดเร็วจะทำให้เกิดการขดเกลียวแน่น (supertwists) ตรงส่วน helix ด้านบนของ replication fork        ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์นี้    จะมีเอนไซม์ชื่อ DNA gyrase (E. coli topomerase) ช่วยป้องกันการขดเกลียวแน่นนี้เข้ามาช่วย
  
2.      ดีเอ็นเอจะถูกจำลอง (replicated) อย่างต่อเนื่องโดย DNA polymerase III บนสาย leading strand และทิศทางจาก 5' ® 3' (ของ DNA สายใหม่)     
        ส่วนในสาย lagging strand การจำลองตัวเองของดีเอ็นเอจะเป็นแบบไม่ต่อเนื่องและต้องใช้ primase (RNA polymeraseมาสังเคราะห์ RNA primer สายสั้นๆ ประมาณ 10 nucleotides    ซึ่ง primase จะฟอร์มเป็น complex ร่วมกับ โปรตีนอีกหลาย ๆ ชนิดเป็น primosome      จากนั้น DNA polymerase III ก็จะสังเคราะห์ดีเอ็นเอสายใหม่ต่อจาก primers เหล่านี้ (ในทิศทาง 5' ® 3' ของ DNAสายใหม่เช่นกันแล้วก็ lagging strand นี้เองจะฟอร์มเป็นห่วง (loop) ด้วย    เพื่อ DNA polymerase III วิ่งไปในทิศทางเดียวกันกับบน leading strand       ดีเอ็นเอสายใหม่ที่สังเคราะห์ได้บนสาย lagging strand จะมีขนาดยาว 1,000 – 2,000 nucleotides (ในแบคทีเรียซึ่งจะเรียกว่า Okazaki  fragments (ตามผู้ค้นพบ Reiji Okazaki)

3.   หลังจากที่ Okazaki fragments  ได้ฟอร์มขึ้นมาเสร็จเรียบร้อยแล้ว เอนไซม์ DNA polymerase I (หรือ Rnase H ) จะทำหน้าที่ตัด RNA primer ออกไป    แล้ว DNA polymerase I จะเข้ามาสังเคราะห์ดีเอ็นเอแทนที่ในส่วนที่ถูกตัดออกไปนี้ 
            สุดท้าย Okazaki fragment จะถูกเชื่อมเข้าด้วยกันด้วย DNA ligase  ในแบคทีเรียเอนไซม์ ligase ใช้ NAD+ เป็นสารพลังงาน  ส่วนสิ่งมีชีวิตอื่นใช้ ATP

4.    Termination of DNA replication             กระบวนการจำลองตัวเองของดีเอ็นเอจะหยุด  
      เมื่อ polymerase ไปถึง termination site  ใน E. coli เป็น Ter sites   ถ้ากระบวนการจำลองตัว
      เองของดีเอ็นเอเกิดการผิดพลาด (ลำดับดีเอ็นเอผิดไปเกิดการกลายพันธุ์ (mutations) ได้                      ถ้าเกิดการกลายพันธุ์มาก ๆ จะเป็นอันตรายกับ E. coli ได้     โดยปกติใน E. coli จะมีการผิด
      พลาดจากกระบวนการจำลองตัวเองของดีเอ็นเอเท่ากับ 10-9-10-10 ต่อคู่เบส (bp) หรือ
      ประมาณ 10-6 ต่อยีนต่อรุ่น การกลายพันธุ์ส่วนหนึ่งเป็นกลไกต่อสู้ต่อสิ่งเร้า เช่น สารเคมี หรือ                   ยาปฏิชีวนะ ดังนั้นการกลายพันธุ์ของแบคทีเรียที่ดื้อยาปฏิชีวนะ จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้                     ไม่ช้าหรือเร็วกลายพันธุ์ของแบคทีเรียที่ดื้อยาปฏิชีวนะก็ต้องเกิด เพื่อความอยู่รอดของ
       แบคทีเรีย

------------------------------------------------