โครงสร้างและหน้าที่ของสารโมเลกุลใหญ่
(Macromolecules)
สารโมเลกุลใหญ่ (หรือ macromolecules) ยกตัวอย่างเช่น
โปรตีน (protein) ซึ่งประกอบด้วยกรดอะมิโน ต่อกันนับร้อยตัว มีน้ำหนักมวลโมเลกุล (molecular weight) มากกว่า 100,000 ดาลตัน (daltons)
- สารโมเลกุลใหญ่ส่วนใหญ่เป็น โพลีเมอร์ (polymers) (ภาษากรีก
(Gr.) Polys = many, meris = part)
- โพลีเมอร์เป็นโมเลกุลยาว
ที่ประกอบด้วยหน่วยโมเลกุลย่อยๆ ชนิดเดียวกัน หรือเหมือนกันต่อกันด้วยพันธะโควาเลนท์
(covalent bonds) เหมือนตู้รถไฟที่ต่อกันเป็นขบวน หน่วยโมเลกุลย่อยๆ นี้เรียกว่า โมโนเมอร์ (monomers = building blocks of a polymer)
- เซลล์มีกลไกการสร้างและสลายโพลีเมอร์ชนิดต่างๆ
ดังนี้
- Condensation = โมโนเมอร์จะถูกเชื่อมด้วยพันธะโควาเลนท์ และในปฏิกิริยานี้จะได้น้ำ ออกมา (ปฏิกิริยานี้เรียกได้อีกชื่อว่า dehydration
reaction)
- Hydrolysis
reaction = ปฏิกิริยาการแตกตัวของโพลีเมอร์โดยมีน้ำเข้าทำปฏิกิริยาร่วม
โดยที่ ไฮโดรเจน (H) จากน้ำจะจับกับ
โมโนเมอร์โมเลกุลหนึ่ง ส่วนหมู่ไฮดร็อกซิล (OH) ก็จะจับกับโมโนเมอร์อีกโมเลกุลหนึ่ง
1. คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrates)
·
คาร์โบไฮเดรต = น้ำตาล (sugars) และ โพลีเมอร์ของน้ำตาล
·
โมเลกุลของคาร์โบไฮเดรตที่เป็นโมเลกุลเล็กและมีโครงสร้างง่ายๆคือ โมโนแซคคาไรด์ (monosaccharide)
·
ถ้าไดแซคคาไรด์ (disaccharides) จะเป็นโมโนแซคคาไรด์ + โมโนแซคคาไรด์ (โมโนแซคคาไรด์ 2 โมเลกุลต่อกัน)
1.1 น้ำตาล (sugars)
·
โมโนแซคคาไรด์ (monosaccharide) (ภาษากรีก (Gr.) monos
= single: sacchar = sugar)
·
มีสูตรโครงสร้างเป็นทวีคูณของ CH2O (multiple
of CH2O) ตัวอย่างเช่นกลูโคส (glucose :
C6H12O6 ) เป็นโมโนแซคคาไรด์
ที่สำคัญมากในปฏิกิริยาเคมีในสิ่งมีชีวิต
·
น้ำตาลอัลโดส (aldoses) เป็นน้ำตาลอัลดีไฮด์ (aldehyde sugar)
·
น้ำตาลคีโตส (ketose) เป็นน้ำตาลคีโตน (ketone sugar) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของกลุ่ม
คาร์บอนิล (carbonyl group) ว่าอยู่ตำแหน่งใด
·
น้ำตาลไตรโอส (trioses) มีคาร์บอน 3 อะตอม (3C)
·
น้ำตาล เพนโตส (pentose) มีคาร์บอน 5 อะตอม (5C) และน้ำตาล เฮ็กโซส (hexose)
) มีคาร์บอน 6 อะตอม (6C)
·
ในความเป็นจริง โมเลกุลของน้ำตาล
เมื่ออยู่ในสารละลายจะมีโครงสร้างเป็น รูปวงแหวน (ring forms)
- ไดแซคคาไรด์ (disaccharide) เป็นโมโนแซคคาไรด์ 2 โมเลกุล
ต่อกันด้วย พันธะไกลโคไซดฺ์ (glycosidic likage) ซึ่งเป็นพันธะโควาเลนท์
(covalent bond) เช่นเดียวกัน
Maltose = glycose + glucose
Sucrose = glucose + fructose ( น้ำตาลที่เรารับประทานกันอยู่)
Lactose = glucose + galactose
1.2 โพลีเแซคคาไรด์ (polysaccharides)
- โพลีแซคคาไรด์ (polysaccharide) เป็นสารโมเลกุลใหญ่ (macromolecule)
ที่ประกอบด้วยโมโนแซคคาไรด์ 200 - 1,000 หน่วย ต่อกันด้วยพันธะไกลโคไซดฺ์ (glycosidic linkages)
- โพลีแซคคาไรด์
บางตัวเป็นอาหารสะสม เมื่อถูกย่อยจะได้เป็นน้ำตาลสำหรับเซลล์
- โพลีแซคคาไรด์
บางตัวทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของเซลล์
โพลีแซคคาไรด์ที่เก็บสะสม (storage polysaccharide) เป็น polysaccharide
ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเก็บสะสมไว้ ได้แก่
- แป้ง (starch) พบในพืช ประกอบไปด้วยโมโนเมอร์ของกลูโคส (glucose monomers) เชื่อมต่อกันด้วยพันธะคาร์บอนที่ 1 กับ 4 คล้ายน้ำตาลมอลโตส
(maltose) แป้งที่มีโครงสร้างโมเลกุลอย่างง่ายที่สุดคือ
อะไมโลส (amylose)
เป็นโมเลกุลที่ไม่มีกิ่งก้าน ส่วนอะไมโลเพคติน (amylopectin) เป็นแป้งที่มีโครงสร้างซับซ้อนกว่า พืชจะเก็บแป้งไว้ที่พลาสติด (plastids) และที่คลอโรพลาส (chloroplasts) เวลาที่พืชต้องการกลูโคส แป้งที่ถูกสะสมไว้จะถูก ไฮโดรไลซ์ (hydrolyzed) ไห้ได้เป็นกลูโคส
ซึ่งเซลล์สามารถนำไปใช้ได้ต่อไป
- ไกลโคเจน (glycogen) พบในสัตว์และคน
เป็นโมโนเมอร์ของกลูโคสต่อกัน เช่นกัน แต่จะมีลักษณะคล้ายอะไมโลเพคติน
(amylopectin)
- แป้งที่เป็นอะมิโลสและอะมิโลเพคตินพบในพืช ส่วนไกลโคเจนซึ่งพบในเซลล์ตับและเซลล์กล้ามเนื้อสัตว์
โครงสร้างของโพลีแซคคาไรด์
- ยกตัวอย่างเช่น เซลลูโลส (cellulose) เป็นส่วนประกอบของเซลล์พืช รวมกันทั่วโลกพืชจะสร้างเซลลูโลสปีละนับพันล้านตัน เซลลูโลสเป็นสารประกอบออร์กานิก (organic compound)
ที่มีมากที่สุดในโลกก็ว่าได้
- เซลลูโลสเป็นกลูโคสหลายๆ โมเลกุลเชื่อมต่อกันด้วยพันธะ 1-4 (1 - 4 linkage) ในแบบ beta- configuration โครงสร้างของกลูโคสมี 2 แบบ คือ แบบ α (alpha) และ β (beta) ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของหมู่ไฮดรอกซีที่คาร์บอนตำแหน่งที่ 1
- โมเลกุลของแป้ง
มีโครงสร้างเป็นแบบเกรียว (helical) โมเลกุลของเซลลูโลส (cellulose
molecule) เป็นเส้นตรง (straight) ไม่มีกิ่งก้านและหมู่ไฮดร็อกซิล (OH) และไม่ต่อกับโมเลกุลอื่น
ในผนังเซลล์ของพืชโมเลกุลของเซลลูโลสรวมกันเป็นหน่วยเรียกว่า
ไมโคลไฟบริล (microfibrils)
- คนเราย่อยเซลลูโลสไม่ได้เพราะเซลลูโลสมีพันธะ β-linkages เซลลูโลสจึงออกมาเป็นกากอาหาร เอนไซม์ของเราย่อย
แป้งได้ ซึ่งเรามีเอนไซม์ที่ใช้ตัดพันธะ
α- linkage
- ไคติน (chitin) เป็นคาร์โบไฮเดรตที่พบในแมลงปีกแข็ง (arthropods) แมลงเหล่านี้ใช้ไคตินสร้างโครงสร้างภายนอก
(exoskeletons) ไคติน
ประกอบด้วยโมเลกุลกลูโคสอีกแบบหนึ่งที่มีหมู่ไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ
2. Lipids (ไขมัน)
ไขมัน (lipids) ไขมันมีคุณสมบัติพิเศษคือ ไม่ละลายน้ำ (no affinity for water) เรียกว่า ไฮโดรโฟบิก (hydrophobic)
2.1 Fats
·
ไขมัน (fat) = กลีเซอรอล (glycerol) + กรดไขมัน (fatty acids)
กลีเซอรอล = แอลกอฮอล์คาร์บอน 3
อะตอม
กรดไขมัน = สารประกอบที่มีคาร์บอน 16-18 อะตอม ที่ปลายข้างหนึ่งมีหมู่คาร์บอนิลเป็นหมู่ฟังชั่น
(functional group)
ไตรเอซิลกลีเซอรอล = 3 กรดไขมัน + 1 กลีเซอรอล (triacylglycerol หรือ triglyceride)
- Triacylglycerol =
3 fatty acids + 1 glycerol (triglyceride)
- Saturated fatty
acid = ไขมันอิ่มตัว
- Unsaturated fatty
acid = ไขมันไม่อิ่มตัว มี C=C ในโครงสร้าง มักเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง
พันธะคู่ในไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated
fatty acid) ทำโครงสร้างของมันงอและทำให้โมเลกุล
ไม่อยู่ชิดกันมาก ด้วยเหตุนี้ไขมันไม่อิ่มตัวจึงมีสถานะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง
- Hydrogenated vegetable
oil = unsaturated fatty acid + hydrogen --> saturated fats ลดการเหม็นหืน พบในขนมบิสกิท (biscuits) เค้ก มาการีน ทำให้เก็บไว้บนชั้นได้นาน
- แต่ไขมันอิ่มตัว (saturated
fats) ก่อให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน เป็นภัยมหันต์
- 1 กรัมของไขมัน
(fat) ให้พลังงานได้มากกว่า 1 กรัมของโพลีแซคคาไรด์
- มนุษย์เก็บสะสมไขมันไว้ที่เซลล์ที่เรียกว่า adipose cells
2.2 Phospholipids
ฟอสโฟลิปิด (phospholipids) = 2 fatty acids +
phosphate group + 1 small molecule
ยกตัวอย่างเช่น 2
fatty acids + phosphate group +
choline phosphatidylcholine
ฟอสโฟลิปิด = 2 กรดไขมัน + 1 หมู่ฟอสเฟต + 1 โมเลกุลเล็ก
- ฟอสโฟลิปิด (phospholipids) มีหัวเป็น hydrophilic มีหางเป็น hydrophobic
- เมื่อผสมฟอสโฟลิปิดลงในน้ำ ฟอสโฟลิปิดจะเกาะกันเป็นก้อนกลมเรียกว่า
ไมเซล “micelle” โดยจะหันด้าน hydrophilic
head ออก (หันหัวออกไปหาน้ำ ชอบน้ำ)
- ที่เซลล์เมมเบรน
ฟอสโฟลิปิดเรียงตัวกันเป็นไบแลย์ร (bilayer) โดยหันด้าน hydrophobic
ชนกัน และ hydrophilic
head ออก
2.3 สเตียรอยด์ (steroids)
·
สเตียรอยด์ (steroids)
มีโครงสร้างเป็นวงแหวนคาร์บอน 4 วง
·
คลอเรสเตอรอล (cholesterol)
เป็นสารตั้งต้นของการสังเคราะห์สเตียรอยด์ (steroid precursor) และ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์เมมเบรนในสัตว์
3. โปรตีน (proteins)
ชื่อมาจากภาษากรีก (Gr. proteios = first place)
·
โปรตีนคิดเป็น 50 % ของน้ำหนักแห้ง (dry weight) ของเซลล์ทั่วไป
·
โปรตีนเป็นโพลีเมอร์ที่เกิดจากกรดอะมิโน (polymer of amino acids)
ต่อๆกันเป็น polypeptide
·
โปรตีนประกอบด้วยสาย polypeptide จับกันในรูปแบบที่เฉพาะ
·
รูปแบบเป็น 3 มิติ (3-dimensional shape)
โพลีเปปไทด์ (polypeptide)
- ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกรดอะมิโน
(amino acids)
กันก่อน กรดอะมิโนเป็นโมเลกุลที่มีหมู่ฟังก์ชันทั้ง amino และ carboxyl group
- กรดอะมิโนมี 20 ชนิด
·
กรดอะมิโนต่อกันด้วยพันธะเปปไทด์ (peptide bond) เป็นโพลีเปปไทด์
·
โพลีเปปไทด์จะมีส่วนที่เรียกว่า N- terminus และ C-terminus
(carboxyl end)
โครงสร้างของโปรตีน
โปรตีนสามารถ denaturation ด้วย denaturing
agents หรือความร้อน ในสิ่งมีชีวิต
มีโปรตีนชนิดหนึ่งเรียกว่า chaperon proteins มีหน้าที่คอยช่วยในการพับหรือขึ้นรูป (folding)
ของโปรตีนต่างๆ
1. Primary structure
โครงสร้างระดับปฐมภูมิ (primary structure) = amino acid- amino acid- amino acid...
เช่น Gly-Ser-Val... เรียกได้ว่าเป็น polypeptide
เช่น Gly-Ser-Val... เรียกได้ว่าเป็น polypeptide
- ถ้าเปลี่ยนกรดอะมิโน 1 ตัว
ในโปรตีนโมโกลบิน (hemoglobin)
ทำให้เกิดโรคทางพันธุกรรมชื่อว่า sickle – cell disease การเปลี่ยนแปลงกรดอะมิโน 1 ตัว ในตำแหน่งที่ 6 ของโปรตีน ฮีโมโกลบิล
ทำให้เกิดโรค sickle – cell disease
2. Secondary
structure
ประกอบด้วยโครงสร้าง
1) alpha- helix เป็นโครงสร้างสาย polypeptide ที่ม้วนเป็นเกรียวเหมือนบันไดวน
และ 2) pleated sheet เป็นโครงสร้างสาย polypeptide ที่เรียงกันเป็นแผ่น
และ 2) pleated sheet เป็นโครงสร้างสาย polypeptide ที่เรียงกันเป็นแผ่น
3. Tertiary structure
- รูปทรงที่เกิดจาก
การจับกันของพันธะของกลุ่ม R-group ของกรดอะมิโน ในโครงสร้างสาย polypeptide ดังนี้
- hydrophobic
interaction amino acids ที่มี hydrophobic
group
R-group นี้ จะจับกันอยู่ที่ใจกลาง
(core) ของโปรตีน หนีจากการสัมผัสน้ำ
- disulfide
bridge นั่นคือ cysteine + cysteine
(S-H) เกิดเป็นพันธะ –S-S
–
ซึ่งเป็นพันธะที่แข็งแรงกว่า
4. Quaternary
Structure
เกิดจากการรวมกันของ polypeptide มากกว่า 1 subunit ยกตัวอย่างเช่น ฮีโมโกลบิน (hemoglobin) ที่ประกอบด้วย 4 subunits รวมกัน
4. Nucleic acids
- Gene
---> mRNA ---> polypeptide
- ยีน (gene) ประกอบด้วย ดีเอ็นเอ (DNA) ซึ่งเป็นโพลีเมอร์
จัดอยู่ในกลุ่มของ กรดนิวคลีอิก (nucleic
acids)
DNA = deoxyribonucleic acid
RNA = ribonucleic acid
- กรดนิวคลีอิก (nucleic acids) ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์ (nucleotides)
หลายๆโมเลกุล
- นิวคลีโอไทด์ (nucleotide =
nitrogenous base + pentose + phosphate group)
- Nitrogenous bases แบ่งเป็น
1. Pyrimidine มีโครงสร้าง 1 วง สมาชิกมี cytosine (C), thymine (T) และ Uracil ( U )
2.
Purines มีโครงสร้าง 2 วง สมาชิกคือ adenine(A) และ guanine (G)
T พบเฉพาะที่ DNA,
U มีอยู่ที่ RNA เท่านั้น และ เบส A จับกับ T ด้วยพันธะไฮโดรเจน 2 พันธะ
และ G จับกับ C ด้วยพันธะไฮโดรเจน 3 พันธะ
- น้ำตาลเพนโตส (pentose)
ในดีเอ็นเอ เป็นชนิด deoxyribose ใน RNA เป็นชนิด ribose
- polynucleotide เชื่อมกันด้วย phosphodiester linkages เป็น back bone ของดีเอ็นเอ
- ดีเอ็นเอ มีโครงสร้างเป็น double helix
_____________________________________________