กล้องจุลทรรศน์
ในวิชาเคมีนั้นการศึกษาอะตอมและสารเคมีเป็นพื้นฐานที่สำคัญ ทางด้านชีววิทยาการศึกษาเซลล์ซึ่งเป็นหน่วยของสิ่งมีชีวิตก็ถือว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญเช่นเดียวกัน เราศึกษาเซลล์ได้อย่างไร? คำตอบก็คือ วิธีหนึ่งที่เราจะสามารถศึกษาเซลล์ได้คือด้วยกล้องจุลทรรศน์
(microscope) กล้องจุลทรรศน์มี 2 ชนิด คือ 1) กล้องจุลทรรศน์ชนิดแสง (light
microscope) และ 2) กล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอน (electron
microscope) กล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนยังแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
2.1) Transmission electron microscope (TEM)
มีหลักการคล้ายกล้องจุลทรรศน์ทั่วๆไปคือลำแสงอิเลคตรอนจะถูกฉายผ่านเนื้อเยื่อตัวอย่าง
โดยที่เนื้อเยื่อตัวอย่างหรือเซลล์จะถูกย้อมด้วยอะตอมของโลหะหนัก ซึ่งออร์กาเนลล์ชนิดต่างๆก็จะถูกย้อมติดต่างกันไป
กล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนแบบนี้ใช้ศึกษาโครงสร้างขนาดเล็กของเซลล์
2.2) Scanning electron microscope
(SEM)
กล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนแบบนี้ใช้ศึกษารายละเอียดพื้นผิวของเซลล์ โดยที่ลำแสงอิเล็กตรอนจะสแกนพื้นผิวของตัวอย่างซึ่งผ่านการย้อมติดด้วยแผ่นฟิล์มที่ทำมาจากทอง ลำแสงอิเล็กตรอนจากกล้องจะกระตุ้นอิเล็กตรอนที่พื้นผิวของเซลล์ ข้อมูลอิเล็กตรอนที่ได้จะถูกประมวลออกมาเป็นภาพที่มีความตื้นลึกหนาบางในรูปแบบภาพ
3 มิติ
____________________________________
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น